This is an outdated version published on 2020-10-26. Read the most recent version.

การประเมินความเสี่ยงของการได้รับสัมผัสวัตถุกันเสีย สีอินทรีย์สังเคราะห์ และเชื้อจุลินทรีย์จากการบริโภคเนื้อ

ผู้แต่ง

  • อลิสรา เรืองขำ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรินทร์ วัฒนสิน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป, การได้รับสัมผัส, ไนไตรต์

บทคัดย่อ

          การประเมินความเสี่ยง กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไนเตรต และไนไตรต์ สีอินทรีย์สังเคราะห์ เชื้อจุลินทรีย์ชนิด Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. ในเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมักในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจำนวน 30 ตัวอย่าง ผลการทดสอบดังนี้คือ พบกรดเบนโซอิก 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 6.6) ในกุนเชียง และไส้กรอกอีสาน ปริมาณอยู่ในช่วง 67.6 - 227.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบสีเออริโธรซิน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 6.6) ในไส้กรอก ปริมาณอยู่ในช่วง 2.4 - 7.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบสีตาร์ตราซีน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 3.3) ในไส้กรอก ปริมาณ 2.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบสารประกอบไนเตรต 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 3.33) ในกุนเชียง ปริมาณ 1,085 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบสารประกอบไนไตรต์ 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20.0) ในไส้กรอก 2 ตัวอย่าง แฮม 3 ตัวอย่างและไส้กรอกอีสาน 1 ตัวอย่าง ปริมาณอยู่ในช่วง 17.3 - 54.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไม่พบการปนเปื้ อนเชื้อ Staphylococcus aureus และ Salmonella spp เมื่อนำข้อมูลมาประเมินความเสี่ยงการได้รับสัมผัส ทั้งชนิดระดับเฉลี่ย และค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 97.5 ของปริมาณอาหารในกลุ่มประชากรทั้งหมดและกลุ่มผู้ที่บริโภคของประชากรทุกกลุ่มอายุผลการประเมิน พบว่า การได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิก สีอินทรีย์สังเคราะห์ และสารประกอบไนเตรต มีปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคทุกกลุ่มอายุ ส่วนการได้รับสัมผัสที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพ คือ กลุ่มอายุ 3 – 5.9 ปี ได้แก่ การได้รับสัมผัสไนไตรต์ในไส้กรอก แฮม และไส้กรอกอีสาน ส่วนกลุ่มอายุ 6 - 34.9 ปี มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพคือ การได้รับสัมผัสไนไตรต์ในไส้กรอก

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Evaluations of the Joint FAO/WHO Expert Committee of Food Additives (JECFA). [Internet]. 2010 [cited 2018 Aug 1]. Available from: http://apps.who.int/food-ad-ditives-contaminants-jecfa-database/search.aspx

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. Food poisoning. ราย-งานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล:http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata /506wk/y60/d03_3160.pdf.

ปวีณ์ดา ศรีพนารัตนกุล, เวณิกา เบ็ญจพงษ์, ปิยนุช วิเศษ-ชาติ, ปราณี พัฒนกุลอนันต์, วีรยา การพานิช. การประเมินความเสี่ยงของการได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิก และกรดซอร์-บิกจากการบริโภคอาหารประเภทไส้กรอกและหมูยอของคนไทย.วารสารพิษวิทยาไทย. 2552; 24(1): 27-36.

พัชริดา พิชัย, นฤมล ขันตีกุล. การประเมินการได้รับสัมผัสของกรดเบนโซอิก ในน้ำ พริกหนุ่มที่จำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2553 – 2556. วารสารกรมวิทยาศาสตร์-การแพทย์ 2558;57(2):198-207.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. DMSc F 1072: การวิเคราะห์ปริมาณกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ในอาหารโดย HPLC ใน วิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์อาหาร เล่มที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร ; 2560. หน้า 31-34.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. วิธีมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์อาหาร เล่มที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรม-วิทยาศาสตร์การแพทย์; 2557.

Reid AP, editor. Color additives: intermediates and reation by-products in FD&C yellow No.5 liquid C juice chro-matography method. In: Latimer GW, editor. Official method of analysis of AOAC International, 20th ed. Virginia: William Byrd Press; 2016. p. 24-5.

US Food and Drug Administration. Bacteriological ana-lytical manual, 2001; update March 2016. Chapter 12: Staphylococcus aureus [Internet]. 2001 [cited 2017 Dec 1]. Available from: https://www.fda.gov/food/labora-tory-methods-food/bam-staphylococcus-aureus

ISO 6579:2002. update January 2017. Microbiology of food and animal feeding stuffs — horizontal method for the detection of Salmonella spp. [Internet]. 2002 [cited 2017 Dec 1]. Available from:https://www.iso.org/standard/29315.html

พัจนภา วงษาพรหม, เวณิกา เบ็ญจพงษ์, วีรยา การพานิช, ปราณี พัฒนกุลอนันต์. การประเมินความเสี่ยงของการได้รับ สัมผัสกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก จากการบริโภคเครื่องแกงเผ็ดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และสุพรรณบุรี. วารสารพิษวิทยาไทย 2552;24(1):17-26.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ; 2559.

ปราณี พัฒนกุลอนันต์, เวณิกา เบ็ญจพงษ์, จักรกฤษณ์ สกล-กิจติณภากุล, หัสยา อมราสกุลทรัพย์, พรรษมนต์ พงศ์- อิทธิโภคิน, ปิยนุช วิเศษชาติ, โสภิดา สุตา, วีรยา การพานิช. วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ในไส้กรอกที่จำหน่ายในและนอกโรงเรียนจังหวัดนครปฐม. วารสารพิษวิทยาไทย 2559; 31(2):39-54.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135, ตอนพิเศษ 178 ง (ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2561).

เวณิกา เบ็ญจพงษ์, วีรยา การพานิช, จิรารัตน์ เทศะศิลป์ , จุติมา ลิขิตรัตนพร, ปิยนุช วิเศษชาติ, นริศรา ม่วงศรีจันทร์, และคณะ. การประเมินการได้รับไนเตรตและไนไตรต์จากการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปของประชากรไทย. วารสาร-วิทยาศาสตร์ ม ข. 2554;16(8):931-41.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)