การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทร ตามทฤษฎี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกอย่างเอื้ออาทร, ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก, ผู้ดูแล, ทฤษฏีเชิงระบบของ Donabedian;, ทฤษฎีเอื้ ออาทรของ Swansonบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกอย่างเอื้ออาทร โรงพยาบาลปทุมธานีและประเมินรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกอย่างเอื้ออาทร โดยใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบของ Donabedian และทฤษฎีเอื้ออาทรของ Swanson ดำเนินการใน 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาโดยวิธีการระดมสมอง การสัมภาษณ์ การสังเกตร่วมกับการสำรวจข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ โดยใช้คู่มือการพยาบาลผู้ป่ วยผ่าตัดต้อกระจก วิดิทัศน์ และ แผ่นพับโดยละเอียด และระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยใช้ แบบวัดความรู้ ทักษะ พฤติกรรมความพึงพอใจ อัตราการติดเชื้อ ผลการประเมินรูปแบบตามแนวคิดของแบบวัด AGREE 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา pair t-test และ content analysis ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะ พฤติกรรมและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วย และผู้ดูแล หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจกลดลง เท่ากับศูนย์ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่ วยผ่าตัดต้อกระจกอย่างเอื้ออาทร โรงพยาบาลปทุมธานี ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยด้านโครงสร้าง (การเรียนรู้ การอบรม การจัดทำแนวทางปฏิบัติ การจัดทำสื่อการสอน บุคลากร) องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยด้านกระบวนการพยาบาล 5 ด้านของSwanson (1) ด้านการรู้จักผู้ป่ วยในฐานะบุคคลคนหนึ่ง (knowing) (2) ด้านการเฝ้ าดูแลผู้ป่ วยอยู่เสมอ (being with) (3) ด้านการช่วยเหลือทำกิจกรรมต่างๆ ให้ (doing for) (4) ด้านการสนับสนุนให้ผู้ป่ วยมีความสามารถ (enabling) และ (5) ด้านการดำรงไว้ซึ่งความหวัง ความเชื่อ ความศรัทธา (maintaining belief)) องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยด้านผลลัพธ์ (ความรู้ ทักษะ ความพึงพอใจ อัตราการติดเชื้อ) รูปแบบฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐาน แนวคิดแบบวัดของ AGREE 2 ร้อยละ 91.69 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่ วยผ่าตัดต้อกระจกแบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทรตามทฤษฎี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้มีประสิทธิภาพ
Downloads
เอกสารอ้างอิง
เบญจวรรณ พวงเพชร, อุษวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญ-ภาสกุล, กนกรัตน์ พรพาณิชย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34(Suppl 1):53-62.
รังสรรค์ คีละลาย, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลของรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในชุมชนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนากอก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพ-ชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5(2):241-58.
อมราภรณ์ ลาภชูรัต. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาล-สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561;32(3): 1099-112.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2: ต้อกระจก (cataract). กรุงเทพมหานคร: หมอ- ชาวบ้าน; 2010.
กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, ทานตะวัน สลีวงศ. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรง-พยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562;2(3):17–30.
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย. CPG ต้อกระจก [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.geocities.ws/childreneyescenter2000/cat-aract.htm
Swanson KM. What is known about caring in nursing science: a literary meta-analysis. In: Smith MC, Turkel MC, Wolf RZ. Caring in nursing classics: an essential resource. New York: springer publishing; 2012. p. 59-101.
Swanson KM, Karmali ZA, Powell SH, Pulvermakher F. Miscarriage effects on couples’interpersonal and sexual relationships during the first year after loss: women’s perceptions. Psychoso Med 2003;65(5):902-10.
Swanson KM. Enhancing nurses’ capacity for compas-sionate caring. In: Koloroutis M, Felgen J, Person C, Wessel S, editors. Relationship-based care field guide. New York: NLN Publication; 2007. p. 502-7.
อัญชุลี ไชยวงศ์น้อย. ผลของการดูแลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันต่อการทำกิจวัตรประจำวันและความผาสุกของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ]. ชลบุรี: คณะพยาบาล-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุ (service plan). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลปทุมธานี. รายงานประจำปี 2562. ปทุมธานี: โรงพยาบาลปทุมธานี; 2562.
ภารดี นานาศิลป์. ต้อกระจก: การดูแล. กรุงเทพมหานคร: คลังนานาวิทยา; 2543.
Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.
Agree Next Step Consortium. Appraisal of guideline research & evaluation: AGREE II Instrument. Hamilton, Ontario: The AGREE Research Trust; 2009.
จรินรัตน์ วงษ์สมบัติ. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันต่อความเศร้าโศกจากการแท้งของสตรีมีบุตรยาก. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.
เบญจวรรณ จันทร์สามารถ. คุณภาพการบริการทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก: กรณีศึกษาแผนกห้องผ่าตัดต้อกระจก. วารสารพยาบาล-ทหารบก 2560;18(Supplement Issue 1):181-8.
อารีวรรณ อ่วมตานี. การศึกษาสมรรถนะพยาบาลจักษุ โรง-พยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะดัม, เขมริฐศา เข็มมะลวน. ความรู้ความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก ณ หอผู้ป่วยตา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2558;13(1):35-45.
ภาวดี วิมลพันธุ์, พรทิวา คำวรรณ, นลินี แข็งสาริกิจ, กัตติกา พิงคะสัน. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการ-พยาบาลและการศึกษา 2555;5(3):2-15.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-02-08 (2)
- 2020-10-26 (1)
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.