การเปลี่ยนแปลงสำคัญในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2

ผู้แต่ง

  • อรทัย เขียวเจริญ สํานักพัฒนากล่มุโรคร่วมไทย
  • ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร สํานักสารสนเทศบริการสุขภาพ
  • สุเมธี เชยประเสริฐ ส่วนงานมาตรฐานและการบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุข
  • ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสขุภาพ

คำสำคัญ:

กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, ความยากระดับวินิจฉัยโรค, การเทียบเคียงกับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เดิม, การลดความ แปรปรวน, อำนาจอธิบายทรัพยากรการรักษา

บทคัดย่อ

กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย (Thai Diagnosis Related Group, TDRG) เป็นระบบการจัดกลุ่มผู้ป่ วยในทีมีเป้าหมาย ให้ผู้ป่วยที่มีลักษณะทางคลินิกและใช้ทรัพยากรในการรักษาใกล้เคียงกันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ประเทศไทยใช้ TDRG เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลในระดับประเทศ เริ่มจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาสำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง ใช้ TDRG ในการจ่ายเช่นกันแต่ในบริบทที่ต่างกัน ปัจจุบันทั้งสามกองทุนประกันสุขภาพใช้ TDRG ฉบับ 5.1 มาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งสมควรปรับปรุง TDRG ฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกและการใช้ทรัพยากร บทความนี้นำเสนอผลการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสำคัญในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2 โดยนำเสนอถึงวิธีการพัฒนา ผลการพัฒนา และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยฉบับ 5.1 สู่กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2 การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ TDRG ฉบับ 6.2 เมื่อเทียบกับฉบับ 5.1 คือการใช้วิธีการใหม่ในขั้นตอนการจัดกลุ่มโรคใหม่ ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ความยากระดับวินิจฉัยโรคที่พบและหลักฐานค่ารักษาจากฐานข้อมูลการเบิกจ่าย กับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ หลายครั้ง เป็นการทดสอบความเห็นเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญกับหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ ทรัพยากรในการรักษามากขึ้น นอกจากนั้นยังเพิ่มขั้นตอนการปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ใหม่ทั้งชุดโดยการเทียบเคียงกับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์เดิมเพื่อลดผลกระทบที่รุนแรงของน้ำหนักสัมพัทธ์ชุดใหม่ ผลสุดท้ายได้ค่าสถิติความสามารถดีขึ้น โดย TDRG ฉบับ 6.2 มีจำนวนกลุ่มโรค (disease cluster) ลดลงจาก 726 กลุ่ม เป็น 603 กลุ่ม จำนวนกลุ่ม DRG ลดจาก 2,451 กลุ่ม เป็น 1,541 กลุ่ม (ลดลง 910 กลุ่ม) แม้ TDRG ฉบับ 6.2 มีจำนวนกลุ่ม DRG น้อยกว่าแต่ลดความแปรปรวนของค่ารักษาได้มากกว่า แสดงว่าจัดกลุ่มโรคได้ดีขึ้นกว่าฉบับเดิม รวมทั้งค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของ TDRG ฉบับ 6.2 มีค่าอำนาจอธิบายค่ารักษาได้ดีกว่า และค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับตามวันนอน (adjusted relative weight) ยิ่งอธิบายค่ารักษาได้มากขึ้นถึงเกือบร้อยละ 60.0 สรุป TDRG ฉบับ 6.2 จัดกลุ่มผู้ป่ วยได้สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรในการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันได้ดีกว่า TDRG ฉบับ 5.1 กองทุนต่างๆ ควรกำหนดอัตราฐานในการจ่ายค่ารักษาบนฐานค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับตามวันนอนให้เหมาะสมกับการใช้ทรัพยากรในการรักษาผู้ป่วย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม: สถานการณ์และองค์ความรู้ในปี 2544. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2544;11(5):569-81.

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม:หลักการและใช้ประโยชน์. พิษณุโลก: ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2542.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2545 เล่ม 1. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2545.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 4.0 พ.ศ. 2550 เล่ม 1. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2550.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. Thai DRG version 5.0. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2554.

Bredenkamp C, Bales S, Kahur K, (Editors). Transition to diagnosis-related group (DRG). Payments for health. Lessons from case studies. International Development in Focus. Washington DC: World Bank Group; 2020.

Australian Consortium for Classification Development. Development of the Australian refined diagnosis related groups V8.0 2014 [Internet]. [cited 2017 Jan 12]. Available from: https://www.ihpa.gov.au/publications/development-australian-refined-diagnosis-relat-ed-groups-v80

Jackson T, Dimitropoulos V, Madden R, Gillett S. Aus-tralian diagnosis related groups: drivers of complexity adjustment. Health Policy 2015;119(11):1433-41.

Loggie C. AR-DRG Version8.0: Implementation of episode clinical complexity model. HIM-INTER-CHANGE. 2016;6(1):25-7.

ศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (ศรท.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับ 6.2 เล่ม 1. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบ-สาธารณสุข; 2560.

อรทัย เขียวเจริญ, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, สุเมธี เชยประเสริฐ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์สำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมประเทศไทย ฉบับ 6.2 วารสารวิชาการ-สาธารณสุข 2562;28(3):519-32.

Patient Classification Systems International. Statistic methods for casemix. Lisbon: PCS International; 2014.

Stausberg J, Kiefer E. Homogeneity of the German diagnosis-related groups. Health Serv Manage Res 2010;23(4):154-9.

BenTon PL, Evan H, Light SM, Mountney LM, Sanderson HF. The development of healthcare resource groups - version 3. Journal of Public Health Medicine 1998;20(3):351-8.

Reid B, Sutch S. Comparing diagnosis-related group system to identify design improvements. Health Policy 2008;87(1):82-91.

Independent Hospital Pricing Authority. National pricing model technical specification 2016-2017: Independent Hospital Pricing Authority [Internet]. 2016 [cited 2017 Jan 12]. Available from: https://www.ihpa.gov.au/sites/g/files/net636/f/publications/nep16_pricing_model_technical_specifications.pdf

Griffin N, Venables G, Jorda V. The casemix design framework - 2009 [Internet]. The Information Centre NHS; 2009 [cited 2017 Jan 12]. Available from: http://www.content.digital.nhs.uk/media/10810/Case-mix-Design-Framework-v23/pdf/Casemix-De-sign-Framework-v2.3.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้