การเฝ้าระวังโรคเบาหวาน: ผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • นิพา ศรีช้าง กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, การสำรวจ, พฤติกรรมเสี่ยง, โรคไม่ติดต่อ, การบาดเจ็บ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเป็นสัดส่วน ภาระงานในระบบบริการสุขภาพที่สูง การเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อด้วยการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการ บาดเจ็บจึงมีความสำคัญต้องทราบสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์โรคเบาหวานและความครอบคลุมการได้รับบริการดูแลรักษาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการสำรวจตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 15-79 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของประชากร สุ่มตัวอย่างแบบ stratified two stage cluster sampling technique หน่วยตัวอย่างมาจากผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลใน 21 จังหวัดรวม กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 44,171 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรม SAS version 9.4 และรายงานค่าความชุกตัวชี้วัดสำหรับการเฝ้าระวังโรคเบาหวานระดับประชากร พบร้อยละ 55.2 ของประชาชนไทยอายุ 15-79 ปี หรือประมาณการคนไทย 29.5 ล้านคน ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาโรคเบาหวานในรอบปีที่ผ่านมา ความชุกผู้ได้รับการบอกจากแพทย์ว่าตนมีโรคเบาหวาน 9.8 หรือประมาณการประชากร 3.3 ล้านคน เพศหญิงมีความชุกนี้สูงกว่าเพศชายเท่ากับ 11.1 และ 8.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือร้อยละ 36.4 ได้พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา 3-4 ครั้งต่อปี รองลงมาร้อยละ 24.1 มีการติดตามการรักษา 5-6 ครั้งต่อปี, ร้อยละ 21.3 ติดตามการรักษามากกว่า 6 ครั้งต่อปี ที่เหลือร้อยละ 9.0 ติดตามการรักษาเพียงปีละหนึ่งถึงสองครั้ง และไม่ได้พบแพทย์ในรอบปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.9 ผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 92.7 ทราบระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการรับประทานยาร้อยละ 77.2 และการฉีดอินซูลิน ร้อยละ 17.4 พบร้อยละ 63.7 ได้รับการตรวจตาเพื่อหาความผิดปกติของจอประสาทตาและร้อยละ 69.4 ได้รับการตรวจเท้าดูรอยแผลหรือหาความผิดปกติระยะเริ่มต้นในรอบปีที่ผ่านมา การศึกษาครั้งนี้เป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนต้องดำเนินมาตรการทั้งการป้องกันและการรักษา รวมทั้ง การป้องกันภาวะรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การสร้างศักยภาพ บุคลากรในการดูแลผู้ป่วยและการจัดให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคแก่ประชาชนจะลดการป่วยและลดภาระของ ระบบบริการสุขภาพ สำหรับการจัดโปรแกรมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดูแลสุขภาพตนเองเป็นที่ได้รับการยอมรับว่าจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Global report on diabetes. Geneva: World Health Organization; 2016.

GBD 2015 Risk Factors Collaborators. Global, regional, and national comparative risk assessment of 79 behavioural, environmental and occupational, and metabolic risks or clusters of risks, 1990–2015: a systematic analysis for the global burden of disease study 2015. Lancet 2016;388(10053):1659–724

NCD Risk Factor Collaboration. Worldwide trends in diabetes since 1980: a pooled analysis of population-based studies with 4· 4 million participants. Lancet 2016;387(10027):1513–30.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพ ประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที 5 พ.ศ. 2557, นนทบุรี: ่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of Noncommunicable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 2013.

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. การสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2562.

Sonya G. Surveillance for certain health behaviors and conditions among states and selected local areas - behavioral risk factor surveillance system, United States, 2013 and 2014. MMWR 2017;66(16):1-140.

Ayah R, Joshi MD, Wanjiru R, Njau EK, Otieno CF, Hjeru EK, et al. A population-based survey of prevalence diabetes and correlates in an urban slum community in Nairobi Kenya. BMC Public Health 2013;13:371.

Daivadanam M, Absetz P, Sathish T, Thankappan KR, Fisher EB, Philip NE, et al. Lifestyle change in Kerala, India: needs assessment and planning for a community-based diabetes prevention trial. BMC Public Health 2013;13:95.

Tabák AG, Christion H, Wolfgang R, Eric J B, Mika K. Prediabetes: a high-risk state for diabetes development. Lancet 2012;379(9833):2279–90.

Canadian Diabetes Association Clinical Practice Guidelines Expert Committee, Clement M, Harvey B, Rabi DM, Roscoe RS, Sherifali D. Organization of diabetes care. Can J Diabetes 2013;37(Suppl 1):S20-5.

Mohamed SF, Muangi M, Mutua MK, Kibachio J, Hussein A, Ndegwa Z, et al. Prevalence and factors association with pre-diabetes and diabetes mellitus in Kenya: result from a national survey. BMC Public Health 2018;18(Suppl3):1215.

World Health Organization. NCD global monitoring framework. Geneva: World Health Organization; 2012.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้