ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ที่อ้วน และมีไขมันในเลือดสูง ในจังหวัดจันทบุรี: กรณีประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พรฤดี นิธิรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ราตรี อร่ามศิลป์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • จารุณี ขาวแจ้ง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • วรรณศิริ ประจันโน วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • เสาวภา เล็กวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ลดน้ำหนัก, รอบเอว, ไขมันในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ที่อ้วนและมีไขมันใน เลือดสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง ตามหลัก 3 อ. ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์เครียด แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) เข้าค่ายปรับพฤติกรรม 1 วัน และ (2) เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มอีก 8 ครั้ง ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้เข้าค่ายปรับ พฤติกรรมเท่านั้น วัดผลโดยการเปรียบเทียบน้ำหนัก รอบเอว ระดับไขมันในเลือด และความตั้งใจที่จะทำพฤติกรรม สุขภาพที่เหมาะสม ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ independent t-test, t-test, Wilcoxon sign rank test และ Wilcoxon-Mann Whitney test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ระดับไขมันในเลือด และความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว และระดับ ไขมันในเลือดลดลง และมีความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ระดับไขมันในเลือด และความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่แตกต่างจากก่อนการใช้โปรแกรม และมีค่าเฉลี่ยรอบเอวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองนี้ไปใช้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในคนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2557.

อมรา ทองหงษ์, กมลชนก เทพสุทธา, ภาคภูมิ จงพรยะ อนันต์. รายงานการเฝ้ าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/files/report/ 20140109_40197220.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

ปาริฉัตร พงษ์หาร, จรรจา สันตยากร, ปกรณ์ ประจัญบาน, วิโรจน์ วรรณภิระ. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อ พฤติกรรม การป้ องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงของอาสาสมัคร สาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554;3:54- 64.

สมจิตร ศรีรังษ์. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน ของกลุ่มเสี่ยง ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัด น่าน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2558]. แหล่ง ข้อมูล: http://gishealth.moph.go.th/healthmap/work. php?%20maincode=06498

อนงค์ นิลกำแหง, เฉลี่ย พิมพันธุ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดระดับไขมัน โคเลสเตอรอลในเลือดของบุคลากรโรงพยาบาลชัยนาท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 2551;6:127-38.

Polikandrioti M, Dokoutsidou H. The role of exercise and nutrition in type II diabetes mellitus management. Health Science Journal 2009;4:216-21.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจ พฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายของประชากร พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2558]. แหล่ง ข้อมูล: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/ files/exerExec54.pdf

พรฤดี นิธิรัตน์, นันทวัน ใจกล้า, ราตรี อร่ามศิลป์ , สายใจ จารุจิตร, รัชชนก สิทธิเวช, จิตติยา สมบัติบูรณ์, และคณะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ที่อ้วนและมีไขมัน ในเลือดสูง ในจังหวัดจันทบุรี: กรณีอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=358389

Polit DF, Hungler BP. Nursing research: principles and methods (6th ed). Philadelphia: JB Lippincott; 1999.

Pro-Change Behavioral Systems, Inc. The transtheoretical model [Internet]. [cited 2015 Apr 10]. Available from: http://www.prochange.com/transtheoretical-model-of-behavior-change

สินศักดิ์ ชนม์ อุ่นพรมมี, ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี. ทฤษฎี การสร้างเสริมสุขภาพ (ฉบับสรุปสาระสำคัญ). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

Creer TL. Self-management of chronic illness. In: Boekaerts M, Zeidner M, Pintrich PR, editors. Handbook of self-regulation. California: Academic Press; 2000. p. 601-29.

นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์, รัชนีกร ปล้องประภา. ผลของโปรแกรม การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิด ที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2555;2: 40-7.

รุสนี วาอายีตา, กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, บุญสิทธิ์ ไชยชนะ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ. ประสิทธิผลของ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความ สามารถของตนเอง การกากับตนเอง พฤติกรรมการดูแล ตนเอง และการลดนํ้าหนักของบุคลากรที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 2558;2:90-104.

อังศินันท์ อินทรกาแหง, อนันต์ มาลารัตน์. ผลของโปรแกรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เน้ นผู้รับบริการเป็น ศูนย์กลางที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของนิสิตที่มี ภาวะอ้วน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2557 [สืบค้นเมื่อ 25 ม.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://bsris.swu. ac.th/upload/141.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้