ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของโรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ และ สถาบันการศึกษา ในภาพของประเทศในระยะ 5-10 ปี
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์, ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ, ความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ, ความเหลื่อมล้ำบทคัดย่อ
คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการ แพทย์ในภาพรวมของประเทศในระยะยาว (5-10 ปี) เพื่อให้เกิดความชัดเจน สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และตอบสนองต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ครั้งนี้ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ตามกรอบแนวคิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ 4 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ (2) การกำหนดทิศทางขององค์การ (3) การกำหนด ยุทธศาสตร์ และ (4) การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ผลลัพธ์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ ได้แก่ การ กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการแพทย์ มีพันธกิจ คือ (1) พัฒนาและเพิ่มขีด ความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันด้านสุขภาพกับต่างประเทศ (2) พัฒนาและส่งเสริมให้มีหน่วยบริการ สุขภาพระดับ excellence center ครอบคลุมทุกภูมิภาค (3) พัฒนาและส่งเสริมให้สถาบันทางการศึกษามีความเป็น เลิศด้านการแพทย์ในระดับนานาชาติ และ (4) พัฒนา ส่งเสริม นวัตกรรมและการวิจัยทางด้านสุขภาพ และมี เป้ าประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความเป็นเลิศด้านการให้บริการสุขภาพ (2) ความเป็นเลิศด้านการศึกษาทางการ แพทย์ และ (3) ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การ สร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ (2) การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพ (3) การลดความ เหลื่อมล้ำของการได้รับบริการและสถานพยาบาล มีกรอบงบประมาณตามแผนงาน โครงการ ได้รับความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีจำนวน 62,623 ล้านบาท และขับเคลื่อนงานโดยการลงนามความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ 20 สถาบันกับเขตสุขภาพ 12 เขต ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ การยกระดับคุณภาพบริการในระบบสุขภาพของ ประเทศ เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชน พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ สถาบันการศึกษาในระดับภูมิภาค และมีเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์เทียบเคียงได้ในทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตามการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ยังมีข้อจำกัดหลายประเด็น เช่น การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและ สหวิชาชีพอื่นๆ จำกัดเพียง 5 สาขาหลักและงานวิจัย การจัดพื้นที่เป็น 6 ภาค ซึ่งไม่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ระยะ เวลาในการพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ใช้เวลานานทำให้ไม่เป็นปัจจุบัน และไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยตรง หน่วยงานต้องใช้งบประมาณตนเอง อาจจะทำให้แผนฉบับนี้ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในที่สุด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ผลสรุปมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปี งบประมาณ รายการก่อสร้าง ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี. ใน: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, บรรณาธิการ. ประชุมคณะรัฐมนตรี; วันที่ 8 กรกฎาคม 2557; ทำเนียบรัฐบาล, กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร; 2557. หน้า 95.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ผลสรุปมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ผลสรุปมติคณะรัฐมนตรี เรื่องขออนุมัติวงเงิน และขยายระยะ เวลาการก่อหนี้ผูกพันการก่อสร้างโครงการศูนย์การแพทย์ ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556-2560 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้ าหลวง กระทรวงศึกษาธิการ. ใน: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, บรรณาธิการ. ประชุม คณะรัฐมนตรี; วันที่ 10 ตุลาคม 2557; ทำเนียบรัฐบาล, กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร; 2557. หน้า 97.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. รายงานการประชุมร่วม ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเร่งรัดการดำเนินงานจัดทำยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันการแพทย์ และ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาพรวมของประเทศในระยะยาว (5-10 ปี). ใน: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, บรรณาธิการ. ประชุมคณะรัฐมนตรี; วันที่ 25 พฤษภาคม 2558; ทำเนียบ รัฐบาล, กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร; 2558. หน้า 101.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการ แพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5-10 ปี). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.
พสุ เดชะรินทร์. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย; 2551.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1740/2558 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะ ทำงานจัดทำยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการ แพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาทางการ แพทย์ ในภาพรวมของประเทศ. ใน: สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข, บรรณาธิการ. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และ แผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2558.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่642/2559 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของเขตสุขภาพ. ใน: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, บรรณาธิการ. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข; 2559. หน้า 125.
พงศธร พอกเพิ่มดี. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้าน สาธารณสุข). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(1):173- 86. 9. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพ นานาชาติ (medical hub) (พ.ศ. 2560-2569). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2559.
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ. พระราชบัญญัติแผนและขั้น ตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560. ใน: สำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์- คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2560. หน้า 13-23.
พงศธร พอกเพิ่มดี, ธงธน เพิ่มบถศรี, ชนินันท์ สนธิไชย, มา นิตา พรรณวดี, สมชาย แสงกิจพร, อารี สุทธิอาจ, และคณะ. Health at a glance; Thailand 2017. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
เคลาส์ ชวาบ. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2561.
Center IWC. World Competitiveness Yearbook 2020 [Internet]. [cited 2020 June 23]. Available from: https:// www.imd.org/research-knowledge/books/world-competitiveness-yearbook-2020/
Schwab K. THe Global Competitiveness Report 2019[Internet]. [cited 2020 June 23]. Available from: http:// www3.weforum.org/docs/WEF_TheGlobalCompetitivenessReport2019.pdf.
Elizabeth EC, Jennifer BN, Jessica AB. GHS Index, Global Health Security Index Building Collective Action and Accountability[Internet]. [cited 2020 June 23]. Available from: https://www.ghsindex.org/wp-content/uploads/2019/10/2019-Global-Health-Security-Index.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการ แพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5-10 ปี). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข; 2562.
Nation U. The sustainable development goals report 2020 [Internet]. [cited 2020 November 23]. Available from: https://unstats.un.org/sdgs/report/2020/The-Sustainable-Development-Goals-Report-2020.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. หลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5-10 ปี). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.