การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการทันตกรรมและสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมในกลุ่ม ผู้ประกันตน เปรียบเทียบกับผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาภาครัฐอื่น ๆ รวมทั้งสาเหตุที่ผู้ประกันตนไม่ไปใช้สิทธิรับบริการ ทันตกรรมและค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมของผู้ประกันตน โดยใช้ฐานข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ประกันตนเข้าถึงบริการทันตกรรม 10.2 คนต่อร้อยประชากรโดยใช้บริการภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐซึ่งแตกต่างจากผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาอื่น นอกจากนี้พบว่า การเข้าถึงบริการ ทันตกรรมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามระดับเศรษฐานะที่มากขึ้น ส่วนสาเหตุที่ผู้ประกันตนไม่ไปใช้สิทธิฯ พบว่าเกิดจากสาเหตุการได้รับบริการที่ช้าและรอนานมากที่สุด รองลงมาคือสิทธิประโยชน์สวัสดิการไม่ครอบคลุม โดยผู้ประกันตน ที่ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมในการเข้ารับบริการทันตกรรมมีร้อยละ 36.6 อย่างไรก็ตาม ครึ่งหนึ่งของผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการรับบริการทันตกรรมยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากสิทธิที่เบิกได้ ซึ่งหากเปรียบเทียบ ผู้ประกันตนที่ไม่ใช้สิทธิกับใช้สิทธิประกันสังคมที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มนั้นพบว่า มีความแตกต่างกันถึง 2 เท่า อย่างไร ก็ตามแม้ผู้ประกันจะมีอิสระในการเลือกใช้บริการ แต่พบว่าข้อจำกัดในเรื่องของวงเงินค่าบริการทันตกรรม และ ขั้นตอนบริการที่ล่าช้าและรอนาน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อเข้าถึงบริการทันตกรรมของกลุ่มผู้ประกันตน ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีมาตรการการขยายวงเงินค่าบริการทันตกรรมป็น 900 บาท และการสนับสนุนให้สถานพยาบาลเป็น ผู้ดำเนินการเบิกค่าบริการทันตกรรมแทนผู้รับบริการ สืบเนื่องจากมาตรการดังกล่าว จึงควรมีการศึกษาเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน และควรมีการศึกษาค่าใช้จ่ายทางทันตกรรมที่แท้จริงของผู้ประกันตนเพื่อปรับลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.