การดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้สูงอายุในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ิจิรายุส ดุลยเกียรต โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สุขภาพ, การดูแลสุขภาพตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้สูงอายุ ตามตัวแปรเพศ และอาชีพเดิมของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง ในเขตอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ทั้งหมด 133 หมู่บ้าน จำนวน 7168 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น สัดส่วนหมู่บ้านละ 4 คนได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 532 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัย นำมาทดลองใช้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น เก็บข้อมูลในเดือนเมษายน พ.ศ.2563 กลุ่ม ตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 472 คนคิดเป็นร้อยละ 88.7 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Schaffe ,s test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 64.6 มีอายุระหว่าง 65-69 ปี ร้อยละ 42.5 จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 86.8 และมีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 61.6 โดยส่วนใหญ่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมาจากบุคลากร สาธารณสุข ร้อยละ 76.8 มีการดูแลสุขภาพตนเองในด้านการกินอาหาร การนอนหลับ และการพักผ่อนหย่อนใจ การ ออกกำลังกาย การใช้ยาเสพติด การรักษาสุขภาพจิต โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี การเปรียบเทียบการดูแลสุขภาพตนเอง ระหว่างผู้สูงอายุชายกับผู้สูงอายุหญิง พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในการ เปรียบเทียบการดูแลสุขภาพตนเองระหว่างผู้สูงอายุทีมีอาชีพเดิมต่างกันพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทีระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สุงอายุควรมีการส่งเสริมและสนับสนุน ่ ตลอดจนมีการกระตุ้นการมีกิจกรรมทั้งจากบุคคลภายในครอบครัว บุคคลากรสาธารณสุข ชมรมผู้สูงอายุอย่างต่อ เนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกลุ่ม และให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์จากเพื่อนสมาชิกด้วยกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ