การศึกษาเปรียบเทียบการรับสัมผัสและผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ระหว่างกลุ่มปกติและปลอดภัย กับกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเกษตรกรไร่อ้อย ตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ
เกษตรกรปลูกอ้อยมีปัญหาสุขภาพเนื่องจากการได้รับสัมผัสสารเคมีป้ องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อค้นหาปัจจัยและ สาเหตุการได้รับสัมผัสและผลกระทบสุขภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเคมีป้ องกัน กำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกไร่อ้อยกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยกับกลุ่มปกติและปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างละ 86 คน รวม 172 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย OR และ χ2 เป็นต้น ผลการศึกษากลุ่มปกติและปลอดภัยเป็นเพศชาย ร้อยละ 94.2 อายุเฉลี่ย 40.6 ปี พฤติกรรมป้ องกันการรับสัมผัสสารเคมีอยู่ในเกณฑ์ดีร้อยละ 89.5 ผลกระทบสุขภาพมี อาการเจ็บป่ วยเบื้องต้นร้อยละ 80.2 ความรู้อยู่ในเกณฑ์ปานกลางร้อยละ 44.2 ทัศนคติอยู่ในเกณฑ์ปานกลางร้อยละ 41.9 ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยเป็นเพศชายร้อยละ 95.3 อายุเฉลี่ย 45.1 ปี พฤติกรรมป้ องกันอยู่ใน เกณฑ์ดีร้อยละ 91.9 ผลกระทบสุขภาพมีอาการเจ็บป่ วยปานกลางร้อยละ 66.3 ความรู้อยู่ในเกณฑ์ปานกลางร้อยละ 41.9 ทัศนคติอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 72.1 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างพบว่ากลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมี ปัจจัยเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มปกติและปลอดภัยอย่างทีมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในตัวแปร พื้นทีทำไร่อ้อย (Odds ratio =2.01; 95% CI=1.07-3.75) การใช้ปากช่วยเปิดขวด (Odds ratio=3.64; 95% CI=0.96-13.72) การไม่ใช้ช้อน ตวง (Odds ratio=4.69; 95% CI=1.50-14.67) ผลกระทบสุขภาพ (Odds ratio=8.87; 95% CI=4.41-17.85) ความรู้ได้แก่ การอ่านสลาก การใช้อุปกรณ์ป้ องกัน การฉีดพ่นสารเคมี การเลือกซื้อสารเคมี ทัศนคติเชื่อว่าการใช้สาร เคมีไม่ได้เพิ่มค่าใช้จ่าย ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ชื่อทางการค้า ราคาซื้อ ราคาขาย อุปกรณ์เครื่องฉีดพ่น ตัวแทนจำหน่าย และระยะทางที่สะดวกซื้อ เป็นต้น ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมความรู้เรื่องอ่านสลาก อุปกรณ์ป้ องกัน วิธีฉีดพ่น และการ เลือกใช้สารเคมี ควรมีการสอบใบขออนุญาตการใช้และกำกับปริมาณการใช้สารเคมีต่อคน ส่งเสริมทัศนติการประหยัด โดยใช้เกษตรอินทรีย์ สุขภาพสำคัญกว่าผลผลิต เฝ้ าระวังและตรวจสุขภาพเชิงรุกทุกป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.