การศึกษาการจัดการขยะประเภทเศษใบไม้ ด้วยรูปแบบ RDF-5 ในชุมชนบ้านทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
เชื้อเพลิงอัดแท่ง, ขยะประเภทเศษใบไม้, ตัวประสานน้ำแป้งมัน, ตัวประสานน้ำยางพาราบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษใบไม้โดยเปรียบเทียบน้ำยางพาราดิบและ แป้ งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน โดยมีการศึกษา 4 ระยะ (1) การศึกษาคุณสมบัติของเศษใบไม้และตัวประสาน (2) การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเศษใบไม้และตัวประสาน (3) การศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่ง ในค่าความหนาแน่น ค่าความร้อน ค่าความชื้น ปริมาณสารระเหย และปริมาณเถ้า การหาปริมาณขยะที่ลดลงต่อ หน่วยเชื้อเพลิง (4) ทดสอบความเหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งทีนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟื นไม้ในชุมชน ทำการ ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนใบไม้ต่อแป้ งมัน สำปะหลัง 1 : 1.40 (กิโลกรัม : ลิตร) ดีที่สุด ให้ความร้อนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4,275.40 แคลอรี่/กรัมเชื้อเพลิง สามารถติดไฟนาน 26.55 นาที ลดปริมาณขยะประเภทเศษใบไม้ได้ 94.32 กรัมใบไม้/แท่งเชื้อเพลิง และตัวประสานน้ำยางพาราอัตราส่วนใบไม้ต่อน้ำยางพาราที่ดีที่สุด 1 : 1.4 ให้ความร้อนเฉลี่ย 6,100.29 แคลอรี่/กรัมเชื้อ เพลิง สามารถติดไฟได้นาน 34.17 นาที ลดปริมาณขยะประเภทเศษใบไม้ได้ 61.47 กรัมใบไม้/แท่งเชื้อเพลิง เมื่อ ทำการทดสอบความเหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษใบไม้เพื่อนำมาใช้ทดแทนฟื นไม้ในชุมชน พบว่าเชื้อเพลิง ที่ประสานด้วยน้ำแป้ งมันสำปะหลัง มีระยะจุดติดไฟเฉลี่ย 1.03 นาที ระยะเกิดควันเฉลี่ย 5.13 นาที และระยะเวลา เกิดกลิ่นเฉลี่ย 6.01 นาที ส่วนน้ำยางพารามีการปล่อยกลิ่นและมลพิษปริมาณสูง มีลักษณะทางกายภาพความเปราะ และแตกหักง่าย จึงสรุปได้ว่า การจัดการขยะประเภทเศษใบไม้ด้วยรูปแบบ RDF-5 ที่อัตราส่วนเศษใบไม้ต่อตัว ประสานแป้ งมัน อัตราส่วน 1 : 1.4 สามารถนำมาจัดการขยะประเภทเศษใบไม้ที่มีปริมาณมากในชุมชนและนำมา เป็นพลังงานเชื้อเพลิงแทนไม้ที่นำมาทำเป็นฟืนได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.