การพัฒนานวัตกรรมหมอนหนุนกะลาบรรเทาอาการปวด กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ สำหรับผู้มารับบริการ โรงพยาบาลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
หมอนหนุนกะลา, โรงพยาบาลประโคนชัย, อาการปวด, กล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ พัฒนานวัตกรรมหมอนหนุนกะลา และเปรียบเทียบอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม รวมทั้ง ประเมินความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์คือ ผู้ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย 4 คน ในการสนทนากลุ่มคือผู้รับบริการแพทย์แผนไทย 8 คน ในการทดลองใช้นวัตกรรม 64 คน คำนวณขนาดกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้หลัก Power Analysis เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลโดย แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม แบบประเมินอาการปวด และแบบประเมิน ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ content analysis การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired sample t-test paired ผลการวิจัยพบว่า การบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ มีทั้งการนวดตนเอง ให้ ผู้อื่นนวด ใช้อุปกรณ์ และพบปัญหาคือ นวดไม่ตรงแนวเส้น บางครั้งเกิดอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวดได้น้อย จึง มีความต้องการนวัตกรรมบรรเทาอาการปวดในรูปแบบหมอนหนุน ผู้วิจัยจึงพัฒนานวัตกรรมหมอนหนุนกะลาที่ ปลอกทำจากผ้า Cotton 100% ใยหมอนเป็นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ฐานเป็นแผ่นไม้กระดานที่มีกะลามะพร้าว 6 ลูก วางในตำแหน่งจุดสัญญาณ 4, 5 หลัง สัญญาณ 1,2 ศีรษะด้านหลัง จุดกึ่งกลางกล้ามเนื้อสะบัก ใต้ฐานเป็นสปริง พร้อมคู่มือการใช้งาน โดยหลังการใช้นวัตกรรมทำให้อาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001 และความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากทีสุด (Mean=4.66, SD=0.31) นวัตกรรมหมอนหนุนกะลา ่ เมื่อใช้ทำให้มีแรงกดที่พอเหมาะต่อกล้ามเนื้อช่วย ในการกระตุ้นและทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียน เลือด อาการปวดจึงทุเลาลง นวัตกรรมหมอนหนุนกะลาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จึงสามารถเป็นทาง เลือกสำหรับให้ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ และสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ กับผลผลิตจากธรรมชาติ และส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.