การบูรณาการคลินิกวาร์ฟารินและพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรม จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา ตันติวิชญวานิช กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

ยาวาร์ฟาริน, การบริบาลทางเภสัชกรรม, เครือข่ายคลินิกวาร์ฟาริน, อาการไม่พึงประสงค์จากยา

บทคัดย่อ

วาร์ฟารินคือยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่มีความเสี่ยงสูง สามารถพบอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ภาวะเลือดออก การใช้ยานี้มีความซับซ้อนและต้องปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่ วยแต่ละราย จึงต้องอาศัยการจัดการ ทีดีเพื่อให้ผู้ป่ วยได้รับยาถูกต้อง มีประสิทธิผลและปลอดภัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรมคลินิกวาร์ฟารินร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และเพื่อพัฒนา เครือข่ายระบบบริการสุขภาพผู้ป่ วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินจังหวัดปัตตานี วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่ม ประชากรคือ ผู้ป่ วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินทั้งหมดของโรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 704 ราย ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2561 เปรียบเทียบผลการศึกษาก่อนและหลังการบริบาลทางเภสัชกรรม ปี พ.ศ. 2555 ก่อนการวิจัยมีรูปแบบการให้บริการคลินิกวาร์ฟารินเหมือนกับคลินิกทั่วไปคือ ผู้ป่ วยพบแพทย์จากนั้นเภสัชกร ให้บริบาลทางเภสัชกรรม ผลการศึกษาพบว่าระบบบริการเกิดความผิดพลาดทำให้ผู้ป่ วยไม่ปลอดภัย งานวิจัยนี้จึง เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2556 - 2561 ด้วยการจัดตั้งคลินิกวาร์ฟารินและบูรณาการระบบบริการสุขภาพใหม่ มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ (design thinking) คิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสมัยใหม่ที่สนับสนุน ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ขยายเครือข่ายบริการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานี มี การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินการบริบาลทางเภสัชกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า หลังจากพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่ วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ปัญหาจากการใช้ยามีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 34.82 เป็น 6.64 INR อยู่ในช่วงเป้ าหมายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.64 เป็น 63.02 อาการไม่ พึงประสงค์จากการใช้ยามีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 8.95 เป็น 0.95 และความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาวาร์ฟาริน มีแนวโน้มลดลงจาก 103.03 ต่อพันใบสั่งยา เป็น 9.62 ต่อพันใบสั่งยา และสามารถเปิดคลินิกวาร์ฟารินในจังหวัด ปัตตานีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100.00 สรุป การพัฒนาคลินิกวาร์ฟารินโดยมีเภสัชกรเข้าร่วมให้การบริบาลทาง เภสัชกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ช่วยให้ผู้ป่ วยปลอดภัย ลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้ และ การพัฒนาเครือข่ายคลินิกวาร์ฟารินร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ช่วยให้ผู้ป่ วยได้ รับการดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้นภายใต้การให้บริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ