การบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และ หน้ากาก N95 สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง

ผู้แต่ง

  • วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ปุณณิภา คงสืบ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • เชาวรินทร์ คำหา กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ศุภกิจ ศิริลักษณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการทรัพยากร, โรคติดเชื้อ COVID-19, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับรองรับผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 ใน 5 โรงพยาบาล สำรวจปริมาณการใช้ทรัพยากรสำหรับรองรับผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 ใน 5 โรงพยาบาล และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรในผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 รวมทั้งเปรียบเทียบแนวทางการใช้ ทรัพยากรรองรับผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 ตามแนวทางกรมการแพทย์ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และ การใช้งานจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพยากรในโรงพยาบาลศูนย์ที่มี จำนวนผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุด เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 5 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสำรวจการใช้ทรัพยากรสำหรับรองรับผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่สร้างขึ้นจาก โปรแกรม Microsoft Excel ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ระยะเวลาศึกษาระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยโปรแกรม STATA ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารจัดการทรัพยากร มี 4 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ จำนวนและประเภทของผู้ป่ วย การจัดพื้นที่บริการ แนวทางการใช้ทรัพยากร และการจัดอัตรากำลัง (2) ปริมาณการใช้ทรัพยากรของ 5 โรงพยาบาล พบว่า ในการให้บริการผู้ป่ วยประเภทเดียวกันมีการใช้หน้ากาก N95 และชุด PPE ในปริมาณที่เท่ากันในทุกโรงพยาบาล โดยผู้ป่ วย Severe มีการใช้ทรัพยากรมากที่สุดเฉลี่ย 76.25 ชิ้น/ชุด ต่อรายต่อวัน (SD=58.74) รองลงมา คือผู้ป่ วย Moderate เฉลี่ย 23.8 ชิ้น/ชุด ต่อรายต่อวัน (SD=58.74) ผู้ป่ วย Mild เฉลี่ย 22 ชิ้น/ชุด ต่อรายต่อวัน (SD=10.77) และผู้สงสัยติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) เฉลี่ย 21.6 ชิ้น/ชุด ต่อรายต่อวัน(SD=11.63) ตามลำดับ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรของ 5 โรงพยาบาล ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ จำนวนผู้ป่ วย จำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล อาการและประเภทของผู้ป่ วย กิจกรรมการดูแลรักษา พยาบาล และการจัดหอผู้ป่ วยรองรับผู้ป่ วยโรคติดเชื้อ COVID-19 โดยมีปัจจัยการพิจารณามากกว่าแนวทางการใช้ ทรัพยากรของกรมการแพทย์ และสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย (4) ผลการเปรียบเทียบแนวทางการใช้ทรัพยากร ระหว่างกรมการแพทย์ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และการใช้งานจริงจากการสำรวจ 5 โรงพยาบาล พบว่ามีการใช้ทรัพยากร N95 และชุด PPE ในระหว่าง 3 แนวทางแตกต่างกัน โดยการใช้งานจริงจากการสำรวจ 5 โรงพยาบาล มีการใช้ N95 และชุด PPE มากกว่าจำนวนที่แนวทางของกรมการแพทย์ และสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย กำหนดไว้อย่างมากในผู้ป่วยทุกประเภท

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้