การปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ด้วยเกณฑ์วันนอนสำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2

ผู้แต่ง

  • อรทัย เขียวเจริญ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
  • สุเมธี เชยประเสริฐ ส่วนงานมาตรฐานและการบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุข
  • ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

คำสำคัญ:

สูตรในการปรับน้ำหนักสัมพัทธ์, กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, วันนอนโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับด้วยเกณฑ์วันนอนเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้ร่วมกับอัตราฐานในการจ่ายเงินสำหรับผู้ป่วยใน ด้วยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายระเบียบวิธีพัฒนาสูตรในการปรับค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ตามวันนอนของผู้ป่ วยในสำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.2 เป็นการศึกษาเชิงพรรณา ใช้ข้อมูลผู้ป่ วยใน ปีงบประมาณ 2557-2559 จำนวน 15,073,446 ราย เป็นกลุ่มวันนอนปกติ ร้อยละ 79.2 กลุ่มนอนเกินเกณฑ์ ร้อย ละ 2.2 กลุ่มนอนต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 3.2 และวันนอนน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ร้อยละ 15.5 โดยกลุ่มนอนเกินเกณฑ์มี ค่ารักษามาตรฐานเฉลี่ยสูงทีสุด 50,412 บาทต่อราย ค่ารักษามาตรฐานเฉลี่ยต่ำสุดคือกลุ่มวันนอนน้อยกว่า 24 ชั่วโมง 3,764 บาทต่อราย วันนอนมีความสัมพันธ์กับค่ารักษามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.721) เมื่อวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างวันนอนกับค่ารักษามาตรฐานด้วยสมการถดถอยในภาพรวมได้ค่า Adjusted R2 = 0.547 (กลุ่ม วันนอนต่ำกว่าเกณฑ์ ในกลุ่ม DRG ไม่ผ่าตัด Adjusted R2 =0.301 กลุ่ม DRG ผ่าตัด Adjusted R2 =0.419, กลุ่มวัน นอนเกินเกณฑ์ กลุ่ม DRG ไม่ผ่าตัด Adjusted R2 =0.628 กลุ่ม DRG ผ่าตัด Adjusted R2 =0.814) นำผลการ วิเคราะห์มาสร้างสูตรเพื่อปรับค่า RW ได้ดังนี้ (1) กลุ่มวันนอนน้อยกว่า 24 ชั่วโมง คำนวณค่า RW0d โดยใช้ค่า รักษามาตรฐานเฉลี่ยรายกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมหารด้วยค่ารักษามาตรฐานเฉลี่ยของผู้ป่ วยทั้งหมด (2) กลุ่มวันนอนต่ำ กว่าเกณฑ์ ปรับ RW เพิ่มขึ้นจาก RW0d โดยให้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่คงที่ตามวันนอน (3) กลุ่มวันนอนเกินเกณฑ์ ปรับค่า RW เพิ่มขึ้นตามค่า regression coefficient หรือเรียกว่า cofactor ผลการทดสอบ Adjusted RW (AdjRW) ที่ได้จากสูตร พบว่า AdjRW ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ฉบับ 6 มีความสัมพันธ์กับค่ารักษามาตรฐาน สูงกว่า AdjRW ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ฉบับ 5.1 ร้อยละ 8.4 โดยสรุป สูตรในการปรับน้ำหนักสัมพัทธ์ ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ฉบับ 6.2 ให้ค่า Adjusted RW ที่มีความสัมพันธ์กับค่ารักษามาตรฐานมากกว่า แสดงว่าสะท้อนต้นทุนการรักษา พยาบาลผู้ป่ วยในได้มากขึ้น แต่ควรมีตัวแปรในการปรับค่า RW นอกเหนือ จากวันนอนโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว ในการปรับ RW สำหรับกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยฉบับต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้