วัณโรคบริเวณ Cervicomedullary และการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลังต้นคอบริเวณ Atlantoaxial: รายงานผู้ป่วยและบทบาทของการผ่าตัดในการรักษาวัณโรคบริเวณ Atlantoaxial

ผู้แต่ง

  • ธัชณรงค์ ธัญญศรี กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

วัณโรคบริเวณรอยต่อของไขสันหลังและก้านสมอง, การสูญเสียการทำงานระบบประสาท, การเคลื่อนตัวของ กระดูกต้นคอข้อที่หนึ่งและสอง, การรักษาแบบอนุรักษ์

บทคัดย่อ

รายงานผู้ป่วยวัณโรคกระดูกสันหลังและมีการเคลื่อนของกระดูกบริเวณ C1-2 ซึ่งเป็นบริเวณที่พบได้ไม่บ่อย ในผู้ป่ วยหญิงวัย 51 ปีมาด้วยอาการปวดต้นคอและเสียการทำงานระบบประสาทไขสันหลังที่ ในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผู้ป่ วยมีอาการบกพร่องทางระบบประสาทไขสันหลังแย่ลงอย่างรวดเร็ว จึงได้รับการผ่าตัดเปิดหลังคากระดูก, กำจัดเนื้อเยื่อติดเชื้อ ส่งตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ เพาะเชื้อ และชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพร้อมกับทำการยึดตรึง กระดูกต้นคอด้านหลัง และได้รับยาต้านวัณโรคต่อเนื่องอีก 12 เดือน ประเมินและติดตามผลการรักษาจากอาการ ทางคลินิกและภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของกระดูกสันหลังส่วนคอ แม้ว่าการรักษาวัณโรคบริเวณ cervicomedullary ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างการรักษาแบบอนุรักษ์ที่ได้ผลที่ดี แต่การผ่าตัดยังคงมีบทบาทในผู้ป่ วยที่มีอาการ บกพร่องทางระบบประสาทไขสันหลัง ความไม่มั่นคงบริเวณข้อต่อกระดูกคอ การรักษาแบบอนุรักษ์ล้มเหลวหรือการ วินิจฉัยที่ยังไม่สามารถระบุแน่นอนและต้องการผลชิ้นเนื้อยืนยันการวินิจฉัย การที่ผู้ป่ วยวัณโรคกระดูกสันหลังและมี การเคลื่อนของกระดูกบริเวณ C1-2 ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตอย่าง รวดเร็วอันเป็นผลมาจากการกดทับไขสันหลังบริเวณของ cervicomedullary จึงทำให้การรักษามีแตกต่างจากบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนอื่น อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็วนั้นมีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อป้ องกันภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของโรคดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25

วิธีการอ้างอิง