รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในผู้บำบัดยาเสพติด อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ศรัณยู สืบจิตต์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสบป๋อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งทางใจ, ผู้บำบัดยาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจและผลของการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในผู้บำบัดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดของอำเภองาว จังหวัดลำปาง ประจำปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 86 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (Paired t-Test)

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในผู้บำบัดยาเสพติดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การเห็นคุณค่าของตัวเอง 2) การเห็นคุณค่าของผู้อื่น 3) สายสัมพันธ์ที่คิดถึง 4) จุดมุ่งหมายในชีวิตและการเยี่ยมบ้านเสริมกำลังใจ มีผลทำให้ผู้บำบัดยาเสพติดมีความเข้มแข็งทางใจที่ดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ด้านกำลังใจ ด้านการจัดการกับปัญหา และด้านความเข้มแข็งทางใจโดยรวม ทำให้ผู้บำบัดยาเสพติดมองเห็นคุณค่าในตนเองทั้งทางด้านลักษณะนิสัย ด้านความกตัญญูและสายใยครอบครัวและด้านความชำนาญ ตลอดจนสามารถมองเห็นคุณค่าของตนเองจากการมองของผู้อื่น ในด้านลักษณะนิสัยและจิตใจ ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติที่ดีของตนเอง เป็นผลให้สามารถสร้างความหวังและกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ควรมีรูปแบบการละลายพฤติกรรม สร้างความสัมพันธ์กับวิทยากรก่อนดำเนินการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเปิดใจในการทำกิจกรรมและควรมีการติดตามให้ความช่วยเหลือผู้บำบัดยาเสพติดผ่านการเยี่ยมบ้านและเสริมกำลังใจโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

เอกสารอ้างอิง

กรมราชทัณฑ์. (2566). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์คดี พ.ร.บ. ยาเสพติดทั่วประเทศ. กระทรวงยุติธรรม.

กรมสุขภาพจิต. (2560). แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ. กระทรวงสาธารณสุข

กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จํากัด

พัชราวไล ควรเนตร, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์,และรัชนี อุปเสน. (2557) .โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า.วิทยานิพนธ์ พย.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประภาศรี ปัญญาวชิรชัยและสมหมาย วงษ์กวน. (2566). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ,16(2), 272-286.

ประจวบ แหลมหลักและคณะ. (2557). ปัญหายาเสพติดในสังคมไทยมุมมองทางสังคมวิทยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา,15(3), 8.

สมพงษ์ นาคพรม. (2565). ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตในการลดภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแลผู้สูงอายุของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี.วิทยา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี,33(1), 224-238.

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (2560). มาตรฐานศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มผู้เสพยาติด (พิมพ์ครั้งที่1). สำนักพิมพ์บริษัท บอร์น ทู บี พับลิซซิ่ง จํากัด.

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (2565). หลักสูตรเสริมสร้างพลังใจ อึด ฮึด สู้ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่3). สำนักพิมพ์บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จํากัด

สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต, กรมสุขภาพจิต. (2548). พลังสุขภาพจิต RQ.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภองาว. (2566). รายงานการคัดกรองการใช้สารเสพติดอำเภองาว ปีงบประมาณ 2566.

Grotberg, E. (2003). Resilience for today: Gainting strength from adversity.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01