ประสิทธิผลของโปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสะพานดำ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
คำสำคัญ:
โปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดศึกษา 2 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสะพานดำ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมสนทนาสร้างแรงจูงใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบและแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent sample’s t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดสะสมดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เอกสารอ้างอิง
เทอดศักดิ์ เดชคง. (2563). ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(3), 134-145.
เทอดศักดิ์ เดชคง. (2565). แนวปฏิบัติการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ:บียอนด์พับลิสชิ่ง.
ธีรภาพ เสาทอง. (2563). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 32(2), 19-32.
ยุวดี คาดีวี. (2566). ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2), 390-398.
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ. (15 พฤศจิกายน 2566). ข้อมูลตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ. https://nsn.hdc.moph.go.th/hdc/.
วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ต.
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. (2566). เอกสารสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นครสวรรค์: ศูนย์แพทย์(ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสะพานดำ) โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์.
อภิสรา ธำรงวรางกูร. (2566). ผลของโปรแกรมการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจแบบสั้นและการติดตามเยี่ยมบ้าน โดยทีมหมอครอบครัวในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 13(1), 1-11.
Becker, M. N. & Maiman, L. A. (1978). Socialbehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Medical Care, 13(3), 10-14.
Bandura, A., & Wood, R.E. (1989). Effect of perceived controllability and performance standards on self-regulation of complex decision-making. Journal of Personality and Social Psychology, 56(2), 805-814.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G.(2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160. https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149.
Glasgow, R. E., Davis, C. L., Funnell, M. M., & Beck, A. (2003). Implementing practical interventions to support chronic illness self-management. Joint Commission Journal on Quality and Safety, 29(11), 563-574.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.