การพยาบาลมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดวงสุรีย์ ปานศิลา โรงพยาบาลขาณุวรลักษบุรี

คำสำคัญ:

มารดาวัยรุ่น, แนวทางการพยาบาล, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

ในการศึกษากรณีนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญของการพยาบาลมารดาวัยรุ่น คือ สามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดและดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปจนเข้าสู่ระยะคลอด เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายและจิตใจของมารดาวัยรุ่นและบุตร มารดาวัยรุ่นสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตร รวมทั้งมีทักษะในการเลี้ยงดูบุตรและใช้ชีวิตครอบครัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านได้อย่างมีความสุข และได้รับบริการวางแผนคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ การศึกษารายกรณีนี้ได้นำแนวคิดและหลักการพยาบาลประยุกต์กับทฤษฎีการพยาบาล (King, I.M., 1981) ในการให้การพยาบาลแบบองค์รวม ได้นำข้อมูลจากการมาฝากครรภ์ 5 ครั้ง การคลอดบุตรและหลังคลอดบุตร มาทำการศึกษา พบว่า มารดาวัยรุ่นไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์จนถึงระยะคลอดบุตร มารดาวัยรุ่นมีทักษะในการดูแลตนเองดีขึ้น สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมขณะตั้งครรภ์ไปจนถึงระยะคลอดบุตร มีความมั่นใจในการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มขึ้น สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปจนเข้าสู่ระยะคลอดได้อย่างปลอดภัย ได้รับการคุมกำเนิดแบบยาฝัง (Implant) เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

เอกสารอ้างอิง

King, I.M. (1981). A theory or nursing: Systems, concepts, process. New York: A wiley publication.

กองสุขศึกษา. (2558). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพทระทรวงสาธารณสุข.

ประจวบ แหลมหลัก และคณะ. (2559). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ปัญหาและแนวทางการแก้ไขทางสังคมวิทยา. วารสารการพยาบาลสาธารณสุขและการศึกษา, 3(2):3-15.

รัถยานภิศ พละศึก และคณะ. (2560). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 4(2):256-267.

ลำเจียก กำธร และจิณัฐตา ศุภศรี. (2565). ผลการรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในสถานศึกษาต่อค่านิยมเรื่องเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์. ตรัง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง.

ศรีเพ็ญ ตันติเวส และคณะ. (2560). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2560. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, นนทบุรี.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร. (2566). Data Health Center. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤษภาคม 2566 จาก ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ: https://kpo.moph.go.th/webkpo/

สำนักอนามัยเจริญพันธ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ . (2560). สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. (2558). คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์ แก้วเจ้าจอม.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01