เกี่ยวกับวารสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยกองบริหารการสาธารณสุขได้จัดทำวารสารเภสัชกรรมคลินิก (Clinical Pharmacy Journal) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้าน เภสัชกรรมคลินิก เภสัชกรรมโรงพยาบาลและเภสัชสาธารณสุข ของเภสัชกรกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นสื่อกลางในการนำเสนอบทความวิชาการด้านเภสัชกรรมคลินิกและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปี 2559 (Print ISSN 0858-8538) ในวารสารปีที่ 23 ได้ปรับปรุงรูปแบบวารสารใหม่ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยการปรับเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Online ISSN 2673-0162) ฉบับปีที่ 27 ได้เปลี่ยนชื่อวารสารเป็น Thai Journal of Clinical Pharmacy (Online ISSN 2774-0625) กำหนดตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน; ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม; ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม
-----------------------------------------------------------------------------------
ขอเชิญชวนส่งบทความ online เพื่อลงในวารสารเภสัชกรรมคลินิก โปรดอ่านรายละเอียด หรือ download คู่มือและคำแนะนำได้จาก side bar ด้านข้างขวามือของหน้าเว็บไซต์ หัวข้อ "คู่มือ และ คำแนะนำ"
ขั้นตอนดำเนินการหลังจากส่งบทความ
- ระบบวารสารออนไลน์จะส่งอีเมลอัตโนมัติ แจ้งขอบคุณที่ท่านได้ส่งต้นฉบับบทความมายังวารสาร
- บรรณาธิการ จะส่งอีเมลตอบรับที่จะพิจารณาบทความของท่าน ผ่านกระทู้ของระบบวารสารออนไลน์ซึ่งอาจจะให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบทความเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินบทความ พร้อมทั้งแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารของชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข สำหรับการโอนชำระค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ
ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนการประเมินบทความ ค่าจัดหน้าตีพิมพ์บทความ รวมทั้งสิ้น 3,000 บาท ต่อบทความ - เมื่อผู้นิพนธ์ได้รับแจ้งตอบรับจากบรรณาธิการแล้ว โปรดดำเนินการปรับปรุงบทความเบื้องต้น (ถ้ามี) ชำระค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ และส่งสลิปการโอนเงิน ผ่านทางกระทู้ของระบบวารสารออนไลน์
- บรรณาธิการส่งบทความของท่านให้ผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการประเมินบทความโดยปกปิดชื่อผู้นิพนธ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- บรรณาธิการแจ้งผลประเมินบทความให้ท่านได้รับทราบ และดำเนินการแก้ไข และผู้นิพนธ์ส่งบทความที่แก้ไขแล้วให้บรรณาธิการวารสาร โดยระบบวารสารออนไลน์
- บรรณาธิการวารสารส่งบทความที่แก้ไขให้กับผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอีกครั้ง หรือส่งจัดหน้าตีพิมพ์ (ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ)
ฉบับปัจจุบัน
ฉบับเต็ม
บทความวิจัย
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
ในปัจจุบัน เอกสาร วารสาร หนังสือ ส่วนมากเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์ วารสารเภสัชกรรมคลินิกใช้การเขียนเอกสารอ้างอิงระบบ Vancouver Style จึงขอให้ผู้นิพนธ์อ้างอิงเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นลำดับแรก เช่น
- Rutledge DN, Retrosi T, Ostrowski G. Barriers to medication error reporting among hospital nurses. J Clin Nurs. 2018;27(9-10):1941-9. doi: 10.1111/jocn.14335.
- Sriapha C, Tongpoo A, Wongvisavakorn S, Rittilert P, Trakulsrichai S, Srisuma S, et al. Plant poi-soning in Thailand: a 10-year analysis from Ramathibodi poison center. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2015;46(6):1063-76. PMID: 26867365.
- เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การพัฒนาโปรแกรมเพื่อรายงานผลความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลศรี-นครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 29 มิ.ย. 2563];34(3):261-70. สืบค้นจาก: http://thaidj.org/index.php/SMNJ/article/view/6494
- เสาวนีย์ วิบุลสันติ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, โอภาส พุทธเจริญ, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โลห์เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1281020220531045539.pdf
สามารถดูรายละเอียดการเขียนเอกสารอ้างอิงเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ด้านขวามือ หัวข้อ "คู่มือและคำแนะนำ / การเขียนเอกสารอ้างอิง"