การพัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • นิยม สีสวนแก้ว กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • หทัยชนก พงศกฤตธมน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนทางไต, เอชไอวี, tenofovir disoproxil fumarate

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ทีมสหสาขาวิชาชีพคลินิกเอชไอวี โรงพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir (TDF) เพื่อให้สามารถวินิจฉัยผู้ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และหยุดยาหรือปรับแผนการรักษาก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระดับรุนแรงโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการใช้แนวทางการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF โดยเปรียบเทียบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา ความคลาดเคลื่อนทางยา และอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ก่อนและหลังใช้แนวทางฯ

วิธีวิจัย: วิจัยเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีผู้ใหญ่ที่ได้ TDF ระหว่าง 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2566 ก่อนและหลังใช้แนวทางการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF จำนวน 383 และ 408 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้แนวทางฯ โดยใช้สถิติ chi-square test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยก่อนและหลังใช้แนวทางฯมีความแตกต่างในด้านสูตรยาต้านไวรัสที่ได้รับ การมีโรคประจำตัว และการได้รับยากลุ่ม ACEIs และ ARBs หลังจากใช้แนวทางฯ พบว่า 1) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาลดลงจาก 7.5 เป็น 7 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา (p=1.000) 2) ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงจาก 14.0 เป็น 1.3 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา (p<0.05) 3) อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรง พบ 1 ราย จาก 408 ราย (ร้อยละ 0.2) ซึ่งลดลง (p<0.05)

สรุป: แนวทางในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF ที่ใช้ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงได้

ประวัติผู้แต่ง

นิยม สีสวนแก้ว, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ภ.บ.

หทัยชนก พงศกฤตธมน, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565. หน้า 58-103.

ธีระพงษ์ มนต์มธุรพจน์. ความแตกต่างของ tenofovir alafenamide และ tenofovir disoproxil fumarate ต่อผลของการยับยั้งไวรัสและความปลอดภัยต่อไต. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2566];31(3):328-42. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/58488

สุนีย์ ชยางศุ. ผลของการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ติดตามเป็นเวลาสองปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2566];32(1):1-11. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/118113

วิบูลย์ อยู่ยงวัฒนา, ศิรานันต์ พลเหี้ยมกาญ, ประภาศรี อารยะพงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี โรงพยาบาลนครพนม. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2566];28(1):1-14. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/12452

นุศรา หมัดบวช. ผลของการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อการจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่ป้องกันได้ในผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

ศิรประภา ทับทิม. การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. ใน: มัณฑนา ภาณุมาภรณ์, บรรณาธิการ. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2547. หน้า 65-87.

สิริลักษณ์ จันเทร์มะ, อนิวัต ชุมนิรัตน์, นฤมล อนุมาศ, วารณี ธีระกุล, อภิรดี แซ่ลิ่ม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2566];31(3):482-90. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12342

เกศรินทร์ ชัยศิริ. ความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ดวงรัตน์ สุวรรณ, อัครวัฒน์ กรจิระเกษมศานติ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยา tenofovir ในโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566];11(2):173-85 สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp/article/view/245652

ศิรประภา ทับทิม. เอกสารคำสอน PY4432 เภสัชวิทยาบำบัด 1 การใช้ยาในโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 6. สมุทรปราการ : ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2552.

Górriz JL, Gutiérrez F, Trullas JC, Arazo P, Arribas JR, Barril G, et all. Consensus document on the manangement of renal disease in HIV-infected patients. Nefrologia. 2014;34(Suppl 2):1-81. doi:10.3265/Nefrologia.pre2014.Jul.12674.

อุดมลักษณ์ จันทร์วงศ์, ปฐวี เดชชิต, นพดล ชลอธรรม, นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. การศึกษาผลการใช้ตัวส่งสัญญาณค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อไตจากการใช้ทีโนโฟเวียร์ ไดโซโพรซิล ฟูมาเรต. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566];33(2):112-29. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/261674

ศิริวิทย์ อัสวัฒิวงศ์. ยาเทโนโฟเวียร์และความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่องในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย. 2566];1(1):35-43. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/kmj/article/view/6542

ภมร กงภูเวศน์. ผลของการติดตามการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ ณ คลินิกเอชไอวี โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค.2566];2(3):23-35. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/252784

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13