ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมติดตามค่าไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต
คำสำคัญ:
TDF, ภาวะแทรกซ้อนทางไต, โปรแกรมติดตามค่าไต, DRPsบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ทีโนโฟเวียร์ไดโซโพรซิลฟูมาเรต (tenofovir disoproxil fumarate; TDF) เป็นยาสูตรหลักที่ใช้ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี สามารถควบคุมไวรัสได้ดี ผลข้างเคียงน้อย แต่เนื่องจาก TDF ทำให้เกิดภาวะพิษต่อไต การให้คำแนะนำที่เหมาะสมอาจป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลลัพธ์ด้านอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF และปัญหาจากการใช้ยา (drug-related problems; DRPs) เทียบก่อนกับหลังใช้โปรแกรมการติดตามค่าไต
วิธีวิจัย: เป็นวิจัยกึ่งทดลองเทียบผลก่อนและหลังใช้โปรแกรมการติดตามค่าไต (ช่วงปี พ.ศ. 2563-2566)วิเคราะห์ข้อมูลแสดงค่าความถี่ ร้อยละ การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตแสดงค่า odds ratio (OR) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งหมด 607 ราย (ก่อนใช้ 243 ราย, หลังใช้ 364 ราย) ส่วนใหญ่อายุ ≤50 ปี ใช้ยาต้านไวรัสที่ไม่ใช่กลุ่มยับยั้งโปรตีเอส และใช้ยานานเกิน 12 เดือน พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตหลังใช้โปรแกรมติดตามค่าไตน้อยกว่า (ร้อยละ 5.21, 9.87: OR 0.503; 95%CI 0.269-0.939, p-value=0.031) ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF ร้อยละ 49.70 พบปัญหาจากการใช้ยาลดลง (ร้อยละ 7.10, 13.60: p-value=0.009) ซึ่งปัญหาทั้งหมดถูกแก้ไขโดยเภสัชกร สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์ คือ เพศชาย (OR 2.16; 95%CI 1.05-4.46, p-value=0.037) ใช้ยายับยั้งโปรตีเอส (OR 3.63; 95%CI 1.65-7.97, p-value=0.001) ค่าไตเริ่มต้น 60-90 มล./นาที/1.73ม2 (OR 3.89; 95%CI 1.82-8.34, p-value < 0.001) และผู้ป่วยที่พบปัญหาจากการใช้ยา (OR 5.39; 95%CI 2.44-11.94, p-value < 0.001)
สรุปผล: การใช้โปรแกรมติดตามค่าไตโดยเภสัชกรช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก TDF และการมีส่วนร่วมของเภสัชกรช่วยลดปัญหาการใช้ยาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้
เอกสารอ้างอิง
สุเมธ องค์วรรณดี, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, อัญชลี อวิหิงสานนท์, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2563]. สืบค้นจาก: https://www.thaiaidssociety.org/thailand-hiv-aids-guideline/
สุนีย์ ชยางศุ. ผลของการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ติดตามเป็นเวลาสองปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค.2563];32(1):1-11. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/118113
ปอแก้ว เพ็ชร์คํา, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากการได้รับยา Tenofovir ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2563];25(1):92-103. สืบค้นจาก:https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/229/
วิบูลย์ อยู่ยงวัฒนา, ศิรานันต์ พลเหี้ยมหาญ, ประภาศรี อารยะพงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลนครพนม. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.พ.2567];28(1):1-14. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/12452
ดวงรัตน์ สุวรรณ, อัครวัฒน์ กรจิระเกษมศานติ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยา Tenofovir ในโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.พ.2567];11(2):173-85. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp/article/view/245652
กมลรัตน์ ณ หนองคาย. การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.พ. 2567];29(3):153-64. สืบค้นจาก:https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/14144
ศศิธร แสงเนตร. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.พ. 2567];4(8):1-12. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/AJMP/article/view/9512
Asirvatham ES, Ranjan V, Garg C, Sarman CJ, Periasamy M, Yeldandi V, et al. A review of tenofovir disoproxil fumarate associated nephrotoxicity among people living with HIV: burden, risk factors and solutions. Clin Epidemiol Glob Health. 2024;25:101462. doi: 10.1016/j.cegh.2023.101462.
ใกล้รุ่ง สุทธารักษ์. อุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตในผู้ป่วยเอชไอวีที่ใช้ยา Tenofovir โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.พ.2567];28(1 suppl 1):29-40. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256920/
ชุลีกร ปรีชาวิบูลย์, ขวัญดาว ศิลาทอง, พนิดา อยู่เพ็ชร. การศึกษาอาการอันไม่พึงประสงค์ต่อไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา Tenofovir ร่วมกับ NNRTIs เทียบกับ Tenofovir ร่วมกับ Protease Inhibitors ในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารกรมการแพทย์. 2557;41(5):91–8.
เชิดชัย สุนทรภาส, ภิรุญ มุตสิกพันธ์, รัชฎาพร สุนทรภาส. ปัจจัยเสี่ยงของความเป็นพิษต่อไตในผู้ป่วยที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ ไดโซพรอกซิล ฟูมาเรท ณ โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 29 ก.พ. 2567];33(2):102-11. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/261514
ประภาพร เป็งธินา. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ