การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สริยา ทวีกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ปิยะพร เรือนสังข์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • จันทร์แรม ท้าวจันทร์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

พัฒนาระบบ, บริการพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, อุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนเปรียบเทียบผลก่อนและหลัง ตามกระบวนการพยาบาล ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีระบบ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) และ กลุ่มที่ 2 เป็นพยาบาลห้องฉุกเฉิน ช่วง 1 กันยายน 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 มี 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นออกแบบ 3) ขั้นวางแผน 4) ขั้นดำเนินการ 5) ขั้นประเมินผลและสรุปผล เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นำไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index) ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือตามข้อเสนอแนะ ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยนำไปทดสอบกับพยาบาลห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลศูนย์ในภาคเหนือ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Independent t-test และ Pair t-test

ผลการวิจัย พบว่า เกิดระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนใหม่ที่ยั่งยืน แบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้พยาบาลห้องฉุกเฉินมีความรู้สามารถในการประเมินถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 100 สามารถตัดสินใจช่วยชีวิตได้รวดเร็วเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 100 รายงานแพทย์ภายในเวลาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.33 เป็นร้อยละ 100 สามารถส่งผู้ป่วยไปทำการผ่าตัดรวดเร็วเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 80 การจัดการระบบทำให้ระยะเวลาส่งผู้ป่วยจาก ER to OR รวดเร็วขึ้นจาก 25 นาทีเป็น 20.17 นาที ส่งผลให้ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้สึก (GCS), การฟื้นตัว (Glasgow outcome scale: GOS) ของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้น จำนวนวันนอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พยาบาลเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนใช้งานเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 100 เกิดความเชื่อมั่น และพึงพอใจต่อระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นใหม่ ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 96.67

เอกสารอ้างอิง

Andersson, H., Sundström, BW. and Nilsson, K. (2014) Competencies in Swedish emergency departments – Thepractitioners’ and managers’ perspective. Int Emerg Nurs.Apr;22 (2):81 -7. doi:10.1016/j. ienj.22013.06.005. Epub 2013 Sep4.

Dries, D. J. Initial evaluation of the trauma patient. RetrievedAugust 14, 2006, from http://www.emedicine.com/

Deenamjud, W., Unhasuta, K., and Torsakunkaew, T. (2008). Development of nursing practice guidelinefor life-threatening injured-patient. Vajira nursing journal. 35-50. (inThai)

Kanjanawasee, S. (2016). Research and Development for Thai Education. Silpakorn Educational Research Journal. Vol.8 No 2, (July-December). (in Thai)

Lertwittayakun, T. (2014). Theory about nursing administration by heart for human. (Faculty of education, Khon Kaen University). (in Thai)

Mejaddam, A. Y., Elmer, J., Sideris, AC., Chang, Y., Petrovick, L., Alam, HB. And Fagenholz, PJ. (2013). Prolonged emergency department length of stay is not associated with worse outcomes in traumatic brain injury. J Emerg Med 2013. 45: 384-91.

NANDA International NANDA-I. (2008). Citation Hanyut, A. (2014). Nursing process and implications. Volume 15 No.3 (Sep - Dec).(in Thai)

Pantasee, P. (2017). Nursing Process & Functional Health Pattern Application in Clinical Practice. ISBN: 9786117089046, Vol 19.(in Thai)

Prasongdee, P. (2014). Development of treatment for Patients with Traumatic Brain Injury (Traumatic brain injury: TBI). Academic documents. (Accident & Emergency Department, Chokchai Hospital NakhonRatchasima). (in Thai)

Quality center. (2557). Self assessment report : Chaingrai Prachanukroh Hospital. (in Thai)

Rovinelli & Hambleton. (1977) อ้างตามศิริชัย. (2559) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. หน้า 265-296.

Sharma, S., Gomez, D., Mestral, C., Hsiao, M., Rutka, J. and Nathens, AB. (2014). Emergency access to neurosurgical care for patients with traumatic brain injury. J Am CollSurg. 218: 51-7.

Teuntje, A., Janneke, H., Gaby, F., Joukje, N., Iain, H., Bram, J. and Ewout, S. (2011). Epidemiology, severity classification, and outcome of moderate and severe traumatic brain injury: a prospective multicenter study. J Neurotrauma 2011. 28: 2019 -31.

Unhasuta, K. and Thai trauma nurse network. (2011). Work manual for trauma. Accident & emergency department. Bangkok: Kong press . (in Thai)

World Health Organization (WHO). (2009). GLOBAL STATUS REPORT ON ROAD SAFETY. Retrieved April 15, 2012, from http://who.int/road_safty_status.who.int/publications/2009/9789241563840_eng.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10

วิธีการอ้างอิง