ผลของดัชนีมวลกายและโรคร่วมในระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยวิกฤต ต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ธรรมธัช ปัญญา ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จุรีรัตน์ ชาญธัญกรณ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศลิษา ทองดี ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปาริชาติ นิยมทอง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • ธานินทร์ ฉัตราภิบาล หน่วยระบาดวิทยาคลินิก และสถิติศาสตร์ทางการแพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน, ดัชนีมวลกาย, โรคร่วมทางระบบทางเดินหายใจ

บทคัดย่อ

บทนำ: การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน มีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ตลอดจนเพิ่มอัตราการเสียชีวิต ในผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานมักสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวนั้นคือ การมีดัชนีมวลกายสูง และการมีโรคในระบบทางเดินหายใจ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบความสัมพันธ์ระหว่างการมีดัชนีมวลกายสูง หรือการมีโรคในระบบทางเดินหายใจ กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน แต่ยังไม่พบการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน เมื่อมีโรคร่วมในระบบทางเดินหายใจเข้ามาเกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการมีโรคร่วมในระบบทางเดินหายใจ ต่อความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายกับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน ในผู้ป่วยวิกฤตที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่

วิธีการศึกษา: รูปแบบการเก็บข้อมูล Retrospective cohort study ศึกษาในผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ณ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2562 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 กลุ่มศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 176 ราย โดยพิจารณาปัจจัยรบกวน คือ เพศ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ ภาวะโลหิตจาง อัตราการกรองของไต (GFR) และค่าความเป็นกรดด่างของเลือด วิเคราะห์ผลด้วย multivariable logistic regression แสดงผลในค่า odds ratio, regression coefficient (β) และ 95% confidence interval

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายต่ำและมีโรคร่วมในระบบทางเดินหายใจ มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (β) ที่ทำให้เกิดการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานานเท่ากับ 0.15 (95% CI: -2.63 to 3.55) และผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายสูงและมีโรคร่วมในระบบทางเดินหายใจ มีค่า β เท่ากับ 0.96 (95% CI: -1.61 to 4.25) และผู้ป่วยวิกฤตที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำและสูงมีแต้มต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานานเป็น 1.12 เท่า (95% CI: 0.40-2.97) และ 1.80 เท่า (95% CI: 0.78-4.25) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยวิกฤตที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ เมื่อมีการปรับอิทธิพลของปัจจัยรบกวน 

สรุป: ยังไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า การมีโรคร่วมในระบบทางเดินหายใจมีผลต่อ การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน ทั้งในกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำและสูง แต่เห็นแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายสูงกับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน

คำสำคัญ: การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน, ดัชนีมวลกาย, โรคร่วมทางระบบทางเดินหายใจ

เอกสารอ้างอิง

MacIntyre NR, Epstein SK, Carson S, Scheinhorn D, Christopher K, Muldoon S. Management of patients requiring prolonged mechanical ventilation: report of a NAMDRC consensus conference. Chest 2005;128(6):3937–54.

Kalb TH, Lorin S. Infection in the chronically critically ill: unique risk profile in a newly defined population. Crit Care Clin 2002;18(3):529–52.

Nelson JE, Tandon N, Mercado AF, Camhi SL, Ely EW, Morrison RS. Brain dysfunction: another burden for the chronically critically ill. Arch Intern Med 2006;166(18):1993–9.

Loss SH, Oliveira RP de, Maccari JG, Savi A, Boniatti MM, Hetzel MP, et al. The reality of patients requiring prolonged mechanical ventilation: a multicenter study. Rev Bras Ter intensiva 2015;27:26–35.

Ambrosino N, Vitacca M. The patient needing prolonged mechanical ventilation: a narrative review. Multidiscip Respir Med 2018;13(1):1–10.

Trudzinski FC, Neetz B, Bornitz F, Müller M, Weis A, Kronsteiner D, et al. Risk Factors for Prolonged Mechanical Ventilation and Weaning Failure: A Systematic Review. Respira- tion 2022;101(10):959–69.

Shao D, Straub J, Matrka L. Obesity as a predictor of prolonged mechanical ventilation. Otolaryngol Neck Surg. 2020;163(4):750–4.

Zammit C, Liddicoat H, Moonsie I, Makker H. Obesity and respiratory diseases. Int J Gen Med 2010;3: 335–43.

สุชาดา ศรีทิพยวรรณ. ผลกระทบของภาวะอ้วนต่อการทำงานของระบบหายใจในเด็ก. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2553;54(5): 409-18.

Zammit C, Liddicoat H, Moonsie I, Makker H. Obesity and respiratory diseases. Int J Gen Med 2010;3: 335–43.

Schönhofer B, Euteneuer S, Nava S, Suchi S, Köhler D. Survival of mechanically ventilated patients admitted to a specialised weaning centre. Intensive Care Med 2002;28(7):908–16.

Lai C-C, Shieh J-M, Chiang S-R, Chiang K-H, Weng S-F, Ho C-H, et al. The outcomes and prognostic factors of patients requiring prolonged mechanical ventilation. Sci Rep 2016;6(1):1–6.

Totonchi Z, Baazm F, Chitsazan M, Seifi S, Chitsazan M. Predictors of prolonged mechanical ventilation after open heart surgery. J Cardiovasc Thorac Res. 2014;6(4):211-16.

Legrand M, Payen D. Understanding urine output in critically ill patients. Ann Intensive Care 2011;1(1):1–8.

Kellum JA, Romagnani P, Ashuntantang G, Ronco C, Zarbock A, Anders H-J. Acute kidney injury. Nat Rev Dis Prim 2021;7(1):1–17.

Clark PA, Lettieri CJ. Clinical model for predicting prolonged mechanical ventilation. J Crit Care 2013;28(5): 880-e1.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง