ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต่ออาการรบกวน ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแล

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ บุญอริยเทพ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • ธภัคนันท์ อินทราวุธ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลแบบระคับประคองที่บ้าน, อาการรบกวน, ผลลัพธ์การดูแล, ภาวะเครียด, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

บทนำ:  ผู้ป่วยดูแลแบบประคับประคอง มักต้องการการช่วยเหลือทางกายและจิตใจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป การดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน จะช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

วัตถุประสงค์:   เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านโดยเปรียบเทียบความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวน ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแลก่อนและหลังได้รับโปรแกรม

วิธีการศึกษา:  การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดผลก่อนหลัง ในกลุ่มผู้ป่วยดูแลแบบประคับประคอง และผู้ดูแลหลักรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลและโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน

ผลการศึกษา:  ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนโดยรวม และมีคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุป:  การใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน ในกลุ่มผู้ป่วยดูแลแบบประคับประคองและผู้ดูแล อาจลดความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวน เพิ่มผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและลดภาวะเครียดของผู้ดูแลได้ 

คำสำคัญ: โปรแกรมการดูแลแบบระคับประคองที่บ้าน, อาการรบกวน, ผลลัพธ์การดูแล, ภาวะเครียด, ผู้ดูแล

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข “กฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สามดีพริ้นติ้งอีคริปเมนท์; 2562.

กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

ดาริน จตุรภัทรพร. สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง; 2554.

World Health Organization. Community home-based care in resource-limited settings: a framework for action: Published collaboratively by the Cross Cluster Initiative on Home-based Long-term Care, Non-Communicable Diseases and Mental Health and the Department of HIV /AIDS, Family and community Health. World Health Organization; 2002.

จรูญศรี มีหนองหว้า, พรรณทิพา แก้วมาตย์, สอาด มุ่งสิน, เยาวเรศ ประภาษานนท์, อุดมวรรณ วันศรี, ญาณี แสงสาย, และคณะ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;24(2):37-47.

วิษณุ มงคลคำ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเขตพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาลนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563;10(2):291-306.

โรงพยาบาลร้องกวาง. งานการพยาบาลในชุมชน สถิติผู้ป่วยดูแลประคับประคอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. แพร่: โรงพยาบาลร้องกวาง; 2565.

Labson MC, Sacco CMM, Weissman DE, Gornet B, Stuart FB. Innovative models of home-based palliative care. Cleveland clinic journal of Medicine 2013;8(e-supplement 1).

Peters L, Sellick K. Quality of life of cancer patients reciving inpatient and home-based palliative care. Journal of advanced nursing 2006;53(5):524-33.

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยา วิพากษ์. จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา 2561;10(39): 3-7.

สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง, กาญจนา วิลัย. ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ เภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563;16(2): 104-17.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Palliative Care Toolkit. ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ฉบับภาษาไทย. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์; 2556.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก www. sorporsor.com

World Health Organization. Definition of palliative care. [Internet]. 2002. [cited 2022 November 10]; Available from: URL:https://www.who.int/cancer /palliative/definition/ en/

บังอร ไทรเกตุ. คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคอง. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ; 2556.

Anderson F, Downing GM, Hill J, Casorso L, Lerch N. Palliative performance scale (PPS): a new tool. Journal of palliative care 1996;12(1):5-11.

Chewaskulyong B, Sapinun L, Downing GM, Intaratat P, Lesperance M, Leautrakul S, et al. Reliability and validity of the Thai translation (Thai PPS Adult Suandok) of the palliative performance scale (PPSV2). Palliative medicine 2012;26(8): 1034-41.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความ เครียด ฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551;16(3),177-85.

Gomes B, Calanzani N, Curiale V, McCrone P, Higginson IJ, de Brito M. Effectiveness and cost-effectiveness of home palliative care services for adults with advanced illness and their caregivers. [cited 2023 January 11]. Available from: URL:https://www. cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD007760.pub2/epdf/full

Artsanthia J, Tillaput J. The effect of palliative care to quality of life of people who living with end stage renal disease in community. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2019; 20(1):226-35.

Brumley RD, Enguidanos S, Cherin DA. Effectiveness of a home-based palliative care program for end-of-life. Journal of palliative medicine 2004;6(5):715-24.

รัชนี นามจันทรา, กนกพร นทีธนสมบัติ, สุมานี ศรีกำเหนิด. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน.วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียว 2009;10(1):59-67.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง