ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการ ที่เป็นสัญญาณเตือน เพื่อป้องกันอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ สิริปัญญาแสง
  • กรกฎ พิจอมบุตร
  • สุขจิรัง สุขจิรัง กลุ่มงานการพยาบาลอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

บทนำ:               อาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เสมอ มักจะเกิดขึ้นทีละน้อย  จากไม่มีอาการหอบเหนื่อย จนกระทั่งเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการที่เป็นสัญญาณเตือน จะช่วยลดการกำเริบ และลดอัตราการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้

วัตถุประสงค์:     เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน (readmit)  ด้วยอาการกำเริบเฉียบพลัน (Acute exacerbation) ในกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการที่เป็นสัญญาณเตือนเพื่อป้องกันอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง   

วิธีการศึกษา:     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลแพร่ ด้วยอาการกำเริบเฉียบพลัน จำนวนทั้งสิ้น  120 คน โดยกลุ่มควบคุมใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลแพร่ตามปกติจำนวน 60 คน เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน และกลุ่มทดลองคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ แนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการที่เป็นสัญญาณเตือนเพื่อป้องกันอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลแพร่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้สถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระ  ต่อกัน (Independent sample T-test), สถิติไคว์สแคร์ (chi-square) เปรียบเทียบความแตกต่าง ตัวแปรและใช้สถิติการทดสอบของฟิชเชอร์ (The Fisher exact test) เพื่อทดสอบสมมุติฐาน   การวิจัย

ผลการศึกษา:     กลุ่มควบคุมมีร้อยละของการกลับมารักษาซ้ำ เท่ากับ 6.67 กลุ่มทดลองมีร้อยละของการกลับมารักษาซ้ำเท่ากับ 1.67 ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าการได้รับแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น มีแนวโน้มของการลดโอกาสการกลับมาเข้ามารักษาซ้ำภายใน 28 วัน (readmit)

สรุป:              พยาบาลควรมีการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับการได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการที่เป็นสัญญาณเตือน เพื่อป้องกันอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการ นอกจากนี้ทีมนำทางคลินิกอายุรกรรม (PCT MED) สามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลแพร่ ต่อไป

คำสำคัญ:           โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การกำเริบ, การกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

วิธีการอ้างอิง