อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • สลิลทิพย์ ศิริกันทรมาศ

บทคัดย่อ

บทนำ:               ภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเลือดหนืดและส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะหลายระบบในร่างกายผิดปกติ                                  ตามมา โดยพบอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นที่ รพ.ตะกั่วป่า ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

วัตถุประสงค์:    เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตะกั่วป่า

วิธีการศึกษา:    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะเลือดข้น และได้รับการรักษาใน                            หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดและหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เดือน มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่                             31 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิด

ผลการศึกษา:    พบอุบัติการณ์ภาวะเลือดข้นทารกแรกเกิดโรงพยาบาลตะกั่วป่าตั้งแต่ 1 มกราคม 2559-31 สิงหาคม 2564 0.40%, 0.60%, 1.99%, 2.15%, 0.96%, 2.69% ตามลำดับ                                 โดยพบทารกแรกเกิดที่มีภาวะเลือดข้นทั้งหมด 85 รายเป็นเพศหญิงร้อยละ44.7 เพศชายร้อยละ 55.3 มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือด (Venous hematocrit) เท่ากับ                                     69.5% ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิดโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression analysis ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์                                 เกิดภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิดเพิ่มมากขึ้น 11.76 เท่า (95% CI 2.93, 47.13) ทารกที่มีภาวะขี้เทาปนในน้ำคร่ำเกิดภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิดเพิ่มมากขึ้น 14.99                               เท่า (95% CI 1.44, 155.62) ทารกที่มีน้ำหนัก <2500 กรัมและ ≥4,000 กรัม พบว่าเกิดภาวะเลือดข้นมากกว่าทารกที่มีน้ำหนักปกติถึง 6.69 เท่า (95% CI 2.53, 17.65)                               และ 8.31 เท่า (95% CI 2.61, 26.46) ตามลำดับ

สรุป:                  อุบัติการณ์ภาวะเลือดข้นทารกแรกเกิดโรงพยาบาลตะกั่วป่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิด คือ ภาวะขี้เทาปนใน                                     น้ำคร่ำมารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ น้ำหนักทารกแรกเกิด ≥4,000 และ <2,500 กรัม

คำสำคัญ:          ภาวะเลือดข้นในทารกแรกเกิด, อุบัติการณ์, ปัจจัยเสี่ยง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-14

วิธีการอ้างอิง