ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังทำบอลลูนหัวใจ คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • จินตนา มีวรรณสุขกุล คลินิกโรคหัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่
  • คุณญา แก้วทันคำ คลินิกโรคหัวใจ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแพร่

บทคัดย่อ

 

บทนำ:           โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิต 20,746 คน ปี พ.ศ. 2561 มีอัตราการตาย 21.8 ต่อแสนประชากร สาเหตุใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และจากปัจจัยโรคร่วมที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจสูงขึ้น คลินิกโรคหัวใจโรงพยาบาลแพร่ มีผู้ป่วยทำบอลลูนหัวใจที่กลับมารักษาซ้ำภายใน 1 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2563 ถึงร้อยละ 3.76, 3.84 และ 4.45 ตามลำดับ อีกทั้งผู้ป่วยที่มาด้วยอาการภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พบว่ามีอัตราการเพิ่มสูงขึ้o

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความเสี่ยงของการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลังทำบอลลูนหัวใจ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยโรคร่วมของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังการทำบอลลูนหัวใจที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยโปรแกรมฯ รูปแบบใหม่

วิธีการศึกษา: วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ศึกษาในกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ทำหัตถการสวนหัวใจที่คลินิกโรคหัวใจรับไว้ติดตามอาการ ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 29 คน ศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 – พฤษภาคม 2565 โดยวัดผลเมื่อครบ 6 เดือน โดยประเมินผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ FBS–Cr–LDL-ค่า EF จากการตรวจ Echo, blood pressure การใช้ยาอมใต้ลิ้น และอาการ Chest pain เพื่อประเมินความเสี่ยงในการกลับมารักษาซ้ำ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT และสามารถจัดการความเครียดในขณะฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจได้ดีขึ้น (p–value <.01) ส่วนการวัดผลทางห้องปฏิบัติการ พบว่า FBS–LDL-ค่า EF จากการตรวจ Echo และค่า blood pressure ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value <.01) โดยไม่มีการใช้ยาอมใต้ลิ้น และไม่มีอาการ Chest Pain ร้อยละ 100 หลังการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

สรุป:                การศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังการทำบอลลูนหัวใจในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรงพยาบาลแพร่ รูปแบบใหม่ แสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในระยะ เวลา 1 ปี เป็นการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้กลุ่มตัวอย่างสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเองได้

คำสำคัญ:        โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ, คุณภาพชีวิต

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-08

วิธีการอ้างอิง