การสำรวจความชุกการใช้ยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยในโรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • ธราณี สิริชยานุกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • ปภาณิน กาศวิลาศ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • ชลลดา คะชา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นพพล ขอดเตชะ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความชุก, ยาต้านจุลชีพ, ทางหลอดเลือดดำ

บทคัดย่อ

บทนำ:  การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม นำไปสู่การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความล้มเหลวในการรักษาและอัตราการเสียชีวิต, โรงพยาบาลแพร่จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเชื้อดื้อยาที่เกิดขึ้น จึงสำรวจข้อมูลการสั่งใช้ต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลแพร่ เพื่อนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพของโรงพยาบาลแพร่ต่อไป

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาความชุกของการใช้ยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาล

วิธีการศึกษา:   การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) โดยสำรวจความชุกของการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแพร่ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

ผลการศึกษา:   ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 530 ราย ได้รับยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ ร้อยละ 45.28 ความชุกการใช้ยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ 452 รายต่อประชากร 1000 ราย หอผู้ป่วยหนักเป็นหอผู้ป่วยที่มีร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับต้านจุลชีพเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูงที่สุด ร้อยละ 87.5 ยากลุ่ม Cephalosporin เป็นยาที่มีการสั่งใช้ในผู้ป่วยมากที่สุด โดย Ceftriaxone เป็นยาต้านจุลชีพที่มีการสั่งใช้ในผู้ป่วยสูงสุดในหอผู้ป่วยหนัก (ร้อยละ 28.57) หอผู้ป่วยศัลยกรรม (ร้อยละ 40.78) หอผู้ป่วยอายุรกรรม (ร้อยละ 32.67)  Cefazolin เป็นยา Cephalosporin รุ่นที่ 1ที่มีการสั่งใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อมากที่สุด การสั่งใช้ยาต้านจุลชีพเป็นการสั่งใช้ยาโดยไม่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุ (Empirical therapy) ร้อยละ 60.41 สั่งใช้ยาโดยทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุ     ( Specific treatment) ร้อยละ 26.67 และเป็นการสั่งใช้ยาเพื่อป้องการการติดเชื้อจากการผ่าตัด (Surgical prophylaxis) ร้อยละ 12.92 โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่ได้รับการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพในช่วงเวลาที่สำรวจมากที่สุด สัมพันธ์กับ เชื้อที่พบในการสำรวจคือ Escherichia coli

สรุป:  ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ได้รับยายาต้านจุลชีพ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของโรงพยาบาลระดับเดียวกัน ข้อมูลจากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพของโรงพยาบาลแพร่ต่อไป

คำสำคัญ:  ความชุก ยาต้านจุลชีพ ทางหลอดเลือดดำ

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานการบริโภคยาต้านจุลชีพที่ใช้ในมนุษย์และสัตว์ในประเทศไทยของ ปี 2560. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2560.

Thamlikitkul V. Antimicrobial resistance. J Healthe Serv, Res. Policy 2012;6(3):300-5.

Watkins RR, Bonomo RA. Over- view: global and local impact of antibiotic resistance. Infect Dis Clin North Am 2016;30(2):13-22.

Abushaheen MA, Muzaheed, Fatani AJ, Alosaimi M, Mansy W, George M, et al. Antimicrobial resistance, mechanisms and its clinical signifi- cance. Dis Mon 2020;66(6):100971.

Barriere SL. Monotherapy versus combination antimicrobial therapy: a review. Pharmacotherapy 1991;11(2 (Pt 2)):64s-71s.

Centers of Disease Control and Prevention. Public health focus: surveillance, prevention and control of nosocomial infection. MMWR 1992;41:783-7.

สถาบันบำราศนราดูร. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Zarb P, Amadeo B, Muller A, Drapier N, Vankerckhoven V, Davey P, et al. Identification of targets for quality improvement in antimicrobial pres- cribeing: the web-based ESAC Point Prevalence Survey 2009. J Antimi- crob Chemother 2011;66(2):443-9.

Jamaluddin NAH, Periyasamy P, Lau CL, Ponnampalavanar S, Lai PSM, Ramli R, et al. Point Prevalence Survey of Antimicrobial Use in a Malaysian Tertiary Care University Hospital. Antibiotics (Basel) 2021;10(5):531.

Magill SS, O’Leary E, Ray SM, Kainer MA, Evans C, Bamberg WM, et al. Antimicrobial Use in US Hospitals: Comparison of Results From Emerg- ing Infections Program Prevalence Surveys, 2015 and 2011. Clinical Infectious Diseases 2020;72(10):1784-92.

Saleem Z, Hassali MA, Hashmi FK, Godman B, Bhutta OA. A repeated point prevalence survey of antimi- crobial use in specialized cancer care hospital of Pakistan: findings and implications. Hospital Practice 2019;47(3):149-54.

กระทรวงสาธารณสุข. ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ ในประเทศไทย. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

วันดี ขำยัง, สาริณีย์ กฤติยานันต์, วิชัย พานิชสุข. การใช้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

ทรรศนันทน์ อ่วมประเสริฐ. การสำรวจความชุกของการติดเชื้อในโรงพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พ.ศ. 2558. วารสารกรมการแพทย์ 2560:42(2):26-31.

พัชนี ทองประเสริฐ. การศึกษาประสิทธิภาพการเฝ้าระวังและการปฏิบัติของพยาบาลในบทบาทด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล ตวงรัตน์ โพธะ, อาทร ริ้วไพบูลย์, สุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์ จากการ ติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6(3):352-60.

นิตยา อินทราวัฒนา, มุทิตา วนาภรณ์. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;22(1):81-92.

Robert J, Péan Y, Varon E, Bru JP, Bedos JP, Bertrand X, et al. Point prevalence survey of antibiotic use in French hospitals in 2009. J. Antimicrob Chemother 2012;67(4):120-6.

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center, Thailand: NARST [Internet]. 2020 [cited 2022 Jul 21]. Available from: http://narst.dmsc. moph.go.th/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17

วิธีการอ้างอิง