การศึกษาผลของระดับ BMI ต่อการเกิดภาวะตับอักเสบ จากการใช้ยาวัณโรคสูตรมาตรฐาน ในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
คำสำคัญ:
วัณโรค, ภาวะตับอักเสบจากยา, ดัชนีมวลกายบทคัดย่อ
บทนำ: ปัจจุบันสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคคือภาวะตับอักเสบจากการใช้ยาต้านวัณโรค และดัชนีมวลกายต่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าว ข้อมูลจากโรงพยาบาลแพร่ พบว่าผู้ป่วยวัณโรคดัชนีมวลกายต่ำมีสัดส่วนการตายสูงถึงร้อยละ 17.9 จากการศึกษาที่ผ่านมาพบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะดัชนีมวลกายต่ำกับภาวะตับอักเสบจากการใช้ยาต้านวัณโรค แต่ผลการศึกษายังไม่ชัดเจนและไม่มีการปรับอิทธิพลจากปัจจัยรบกวน
วัตถุประสงค์: เพื่อหาอัตราส่วน odds ของการเกิดภาวะตับอักเสบจากการใช้ยาต้านวัณโรคสูตรมาตรฐานในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ระดับดัชนีมวลกายต่ำ และระดับดัชนีมวลกายสูง เปรียบเทียบกับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ระดับดัชนีมวลกายปกติ
วิธีการศึกษา: การศึกษารูปแบบ Retrospective case control study โดยเก็บข้อมูลแบบ Concurrence case control ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ได้รับยาต้านวัณโรคที่เกิดตับอักเสบจากยา จำนวน 19 ราย และกลุ่มควบคุมคือผู้ที่ไม่เกิดภาวะตับอักเสบจำนวน 74 ราย โดยพิจารณาปัจจัยร่วม ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ประวัติดื่มสุรา ประวัติเป็นโรคตับ โรคเบาหวาน การติดเชื้อ HIV วิเคราะห์ผลด้วย multivariable logistic regression แสดงค่า odds ratio และ 95% confidence interval
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยวัณโรคดัชนีมวลกายต่ำ มีแต้มต่อการเกิดภาวะตับอักเสบจากยาเป็น 1.56 เท่า (95% CI: 0.48-5.50) และ 0.17 เท่า (95% CI: 0.01-1.37) ผู้ป่วยวัณโรคค่าดัชนีมวลกายสูงเทียบกับ ผู้ป่วยวัณโรคดัชนีมวลกายปกติ เมื่อปรับอิทธิพลจากปัจจัยร่วม
สรุป: จากการศึกษานี้ ยังไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า ระดับดัชนีมวลกายมีผลต่อการเกิดภาวะตับอักเสบจากการใช้ยาต้านวัณโรคสูตรมาตรฐาน อย่างไรก็ตามผลการศึกษาเห็นแนวโน้มของดัชนีมวลกายที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะตับอักเสบจากยาเพิ่มขึ้น จึงสามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนติดตามการทำงานของตับที่เข้มงวดขึ้นในผู้ป่วยดัชนีมวลกายต่ำ และแก้ไขภาวะทุพโภชนาการระหว่างการรับยา
คำสำคัญ: วัณโรค, ภาวะตับอักเสบจากยา, ดัชนีมวลกาย
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดําเนินงานขับเคลื่อนงานวัณโรคภายใต้ กรอบคารับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข (Performance Agreement : PA) และแนวทางการ ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
Alavi-Naini R, Moghtaderi A, Metanat M, Mohammadi M, Zabetian M. Factors associated with mortality in tuberculosis patients. J Res Med Sci 2013;18(1):52–5.
Devarbhavi H, Singh R, Patil M, Sheth K, Adarsh CK, Balaraju G. Outcome and determinants of mortality in 269 patients with combination anti-tuberculosis drug-induced liver injury: Anti-TB drug-induced liver injury. J Gastroenterol Hepatol 2013;28(1):161–7.
กรมควบคุมโรค สำนักวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสารณสุข; 2561.
Ramappa V, Aithal GP. Hepatotoxicity Related to Anti-tuberculosis Drugs: Mechanisms and Management. J Clin Exp Hepatol 2013; 3(1):37–49.
Beck-Friis J, Studahl M, Yilmaz A, Andersson R, Lönnermark E. Increased risk of hepatotoxicity and temporary drug withdrawal during treatment of active tuberculosis in pregnant women. International Journal of Infectious Diseases 2020;98:138–43.
Soedarsono S, Riadi ARW. Tuberculosis Drug-Induced Liver Injury. JR 2020; 6(2):49.
Mohamed J, H. NNA, H. ZA, B. BS. Mechanisms of Diabetes-Induced Liver Damage: The role of oxidative stress and inflammation. SQUMJ 2016;16(2):e132-141.
Soedarsono S, Mandayani S, Prayuni K, Yuliwulandari R. the Risk Factors for Drug Induced Hepatitis in Pulmonary Tuberculosis Patients in Dr. Soetomo Hospital. Indones J Trop Infect Dis 2018;7(3). doi.org/10. 20473/ijtid.v7i3.8689
Sun Q, Zhang Q, Gu J, Sun W wen, Wang P, Bai C, et al. Prevalence, risk factors, management, and treatment outcomes of first-line antituberculous drug-induced liver injury: a prospective cohort study: Anti-TB Drug-Induced Liver Injury. Pharmacoepidemiol Drug Saf 2016;25(8):908–17.
Chen R, Wang J, Zhang Y, Tang S. Key factors of susceptibility to anti tuberculosis drug induced hepatotoxicity. Arch Toxicol 2015;89(6):883–97. doi.org/ 10.1007/s00204-015-1473-1
Gaude GS, Chaudhury A, Hattiholi J. Drug induced hepatitis and the risk factors for liver injury in pulmonary tuberculosis patients 2015;4(2):238–43.
Abera W, Cheneke W, Abebe G. Incidence of antituberculosis-drug-induced hepatotoxicity and associated risk factors among tuberculosis patients in Dawro Zone, South Ethiopia: A cohort study. Int J Mycobacteriology 2016;5(1):14–20. doi.org/10.1016/j. ijmyco. 2015.10.002
Abbara A, Chitty S, Roe JK, Ghani R, Collin SM, Ritchie A, et al. Drug-induced liver injury from anti- tuberculous treatment: A retros- pecttive study from a large TB centre in the UK. BMC Infect Dis 2017;17(1):1–9.