การพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างความผูกพันต่อองคก์รของพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน
คำสำคัญ:
การพัฒนากลยุทธ์, การจัดทำแผน, ความผูกพันต่อองค์กรบทคัดย่อ
บทนำ: กลยุทธ์การเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาล เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างศักยภาพและความยั่งยืนขององค์กร
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ระดับความผูกพันต่อองค์กร และพัฒนา กลยุทธ์การเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยผสมทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ปัจจัยที่สร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน (=3.87) และปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.75) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.96) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร พบว่าปัจจัยที่สร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (r=0.60) ต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (r=0.60) ต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร สามารถนำมากำหนดเป็นแผนการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน และยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
สรุป: การนำแผนเสริมสร้างความผูกพันของพยาบาลไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร และธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพให้อยู่กับองค์กรต่อไป
คำสำคัญ: การพัฒนากลยุทธ์, การจัดทำแผน, ความผูกพันต่อองค์กร
เอกสารอ้างอิง
วิจิตร ศรีสุพรรณ, กฤษดา แสวงดี. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2560;32(ฉบับพิเศษ):5-12.
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: งานข้อมูลข่าวสารสุขภาพ 3 กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2563.
กฤษดา แสวงดี. สถานการณ์กำลังคนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;6(1):40-6.
สุวิณี วิวัฒน์วานิช. การขาดแคลนพยาบาลกับการเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ: ประเด็นท้าทายสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554;23(1):1-12.
อรุณรัตน์ คันธา, เดช เกตุฉ่ำ, กฤษดา แสวงดี, ตวงทิพย์ ธีระวิทย์. การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2558;31(3):19-31.
นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร: ความท้าทายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีความหลากหลายของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2559;8(1):16-31.
โรงพยาบาลำพูน. รายงานประจำปี 2561. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2561.
โรงพยาบาลำพูน. รายงานประจำปี 2562. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2562.
โรงพยาบาลำพูน. รายงานประจำปี 2563. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2563.
โรงพยาบาลำพูน. รายงานสรุปความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ. ลำพูน: โรงพยาบาล ลำพูน; 2565.
Herzberg F. The Motivation to Work. New York: john Wiley and Sons, Inc.; 1965.
Steers RM, Porter LW. Motivation and Work Behavior. 5thed. New York: McGraw-Hill; 1999.
ทัศนา บุญทอง. นโยบายสภาการพยาบาลเกี่ยวกับกาลังคนในทีมการพยาบาล. จดหมายข่าวสภาการพยาบาล 2557;17(6):1-16.
อรวรรณ เครือแป้น, ปิยธิดา ตรีเดช, วงเดือน ปั้นดี. ความผูกพันองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;29(2):10-9.
สายหยุด อมรลักษณ์ปรีชา. ความผูกพันในองค์กรของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
ปิยะมาศ เกิดแสง. ความผูกพันต่อองค์การ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครปฐม [สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ]. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก; 2562.
ดุษณีย์ ยศทอง. ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลและแนวทางการแก้ไข: การจัดการปัจจัยระดับบุคคล. วารสารมหาวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562;20(38):134-43.
นพวรรณ ใจคง, จินดาวรรณ ธรรมปรีชา, ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค, ธนวัฒน์ พิมลจินดา. นโยบายการบริหารกับการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2563;18(2):241-59.