ผลของสมาธิบำบัดแบบ SKT 1, 8 ต่อระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดมดลูก/รังไข่
คำสำคัญ:
ระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดมดลูก/รังไข่, สมาธิบำบัดแบบ SKT 1, สมาธิบำบัดแบบ SKT 8บทคัดย่อ
บทนำ: การผ่าตัดมดลูก/รังไข่ เป็นหัตถการที่พบบ่อยที่สุดในหอผู้ป่วยนรีเวชโรงพยาบาลแพร่ ความปวดจัดเป็นความทุกข์ทรมานที่ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย มีการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดช้า และพบว่าใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ผู้ป่วยมีความปวดอยู่ในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งความปวดสามารถจัดการได้ โดยการวางแผนจัดการผสมผสานแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา การทำสมาธิบำบัดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความสนใจต่อความปวด เกิดความสงบ ผ่อนคลาย สมองหลั่งสารสื่อประสาทเอ็นโดรฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขและทำให้ลดความปวดลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวด 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ผ่าตัดมดลูก/รังไข่ระหว่างกลุ่มที่ใช้สมาธิบำบัด SKT 1, 8 และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้สมาธิบำบัด SKT 1, 8
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีกลุ่มควบคุม วัดแบบก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่รับไว้ในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่ จำนวน 72 ราย จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 36 ราย และกลุ่มควบคุม 36 ราย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้รับการผ่าตัดมดลูก/รังไข่ ระหว่างเดือนกันยายน 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการให้ความรู้และการฝึกสมาธิบำบัด SKT 1, 8 แบบประเมินความปวดแบบตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการทำสมาธิบำบัดแบบ SKT 1, 8 มีระดับความปวดลดลงแตกต่างกันเมื่อออกจากห้องผ่าตัด (p<.001) 18 ชั่วโมงหลังออกจากห้องผ่าตัด (p=.008) และ24 ชั่วโมงหลังออกจากห้องผ่าตัด (p<.014) ส่วนที่ไม่แตกต่างกัน คือ 6 ชั่วโมงหลังออกจากห้องผ่าตัด (p=0.115) และ12 ชั่วโมงหลังออกจากห้องผ่าตัด (p=.896)
สรุป: การทำสมาธิบำบัดแบบ SKT 1, 8 มีผลให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวดแผลหลังผ่าตัด สามารถใช้เป็นทางเลือกในการจัดการความปวดร่วมกับการรักษาตามการแพทย์แผนปัจจุบันได้
คำสำคัญ: ระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดมดลูก/รังไข่, สมาธิบำบัดแบบ SKT 1, สมาธิบำบัดแบบ SKT 8
เอกสารอ้างอิง
พงษ์ศักดิ์ ชัยศิลป์วัฒนา. การแพทย์ทางเลือก ผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์-นารีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si. mahidol. ac.th/th/healthdetail.asp?aid=533
Padma PS, Roach EJ, Lobo DJ. Effectiveness of preperative instructions. Manipal Journal of Nursing and Health Sciences 2017;3(1):3-9.
เกศริน อินธิยศ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, เกศศิริ วงษ์คงคำ, ชนา โอฬารรัตนพันธ์. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดด้วยการประคบเย็นร่วมกับการใช้ผ้ารัดหน้าท้องต่อระดับความปวดและการเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัดในผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง. วารสารสภาการพยาบาล 2564;36(3):83-102.
Good M, Stanton-Hicks M, Grass JA, Anderson GC, Makii M, Geras J. Pain after gynecologic surgery. Pain Manage- ment Nursing 2000;1(3):96-104.
จำเนียร คงประพันธ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองอย่างมีแบบแผนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยนรีเวชกรรมต่อการฟื้นสภาพของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางหน้าท้อง. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2562;27(1):6-7.
ศศินาภรณ์ โลหิตไทย, บุญยิ่ง ทองคุปต์. ผลของรูปแบบผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27(2):23-32.
Macrae WA. Chronic post-surgical pain: 10 years. British Journal of Anaesthesia 2008;101(1):77-86.
North Dakota Board of Nursing. Role of Nurse in Pain Management [Internet]. [Cited 2013 July 9] Available from: http://www.Ndbon.org/opinions/ role%20of20nurse%20in20%20 mgmt.asp
อนงค์ สุทธิพงษ์, อัจฉรา อ่วมเครือ, เกษร วงศ์วัฒนากิจ, ปาริฉัตร อารยะจารุ. การพัฒนาระบบการจัดการความปวดที่มีความเฉพาะต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556;31(4):181-8.
อารี นุ้ยบ้านด่าน, ทิพมาศ ชิณวงศ์. สมาธิกับการรับรู้ความปวด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2556;33(1):69-74.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สมาธิช่วยลดความเจ็บปวด [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://oldweb. most.go. th/main/index.php/media-library/ surfing-the-science/2632-meditators-can-concentrate-the-hurtaway.html
สมพร กนทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์, 2550.
สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่15. กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์ บริษัท วี อินดี้ ดีไซน์; 2561.
นิตยา ภูริพันธ์, ดวงกมล ดีทองคำ, ปณิตา คุณสาระ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการอาการปวดในผู้ป่วยระยะท้ายด้วยสมาธิบำบัด SKT 8. วารสาร กองการพยาบาล 2563;47(1):173-89.
วลัยนารี พรมลา, นพมาศ ขําสมบัติ, ศิริวรรณ ตันนุกูล, ชัชวาล วงค์สารี, นฤนาท ยืนยง. การจัดการความปวดด้วยการเจริญภาวนา. วารสารวิชาการมหา วิทยาลัยปทุมธานี 2564;13(2):574-84.
จุฑารัตน์ สว่างชัย, ชุลีพร ปิยสุทธิ์, ศิริพร แก้วกุลพัฒน์. การจัดการความปวดแบบผสมผสาน: การตั้งเป้าหมายระดับความปวดหลังผ่าตัด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562;1(2):161-71.
ยศพล เหลืองโสมนภา, ศรีสุดา งามขำ. ความสนใจต่อความปวด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาล พระปกเกล้า 2556;30(1):83-93.
สนธยา มณีรัตน์, สัมพันธ์ มณีรัตน์, พรรณภา เรืองกิจ, ณัฏฐินี ชัวชมเกตุ. คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยรบกวน วิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยรบกวนของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยามหา วิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2564;11:18-21.