ผลของการติดเชื้อโควิด 19 ต่ออัตราอุบัติการณ์การตายที่ระยะเวลา 28 วันของผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันของโรงพยาบาลแพร่

ผู้แต่ง

  • กุลนาถ คูหา ศูนย์แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลแพร่
  • ธนิดา ศรีนัครา ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นำโชค แจ่มวงค์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปาริชาติ นิยมทอง ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธานินทร์ ฉัตราภิบาล ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

COVID-19, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, อัตราอุบัติการณ์การตาย

บทคัดย่อ

บทนำ:    ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome ; ARDS) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลกและประเทศไทยเนื่องจากมีอัตราการเสียชีวิตสูง ในโรงพยาบาลแพร่ พบว่า ปี 2560-2562 และ ปี 2563-2566 มีการเสียชีวิตเพิ่มจาก 65.07% เป็น 72.8% ซึ่งตรงกับช่วงระบาดของ COVID-19 และจากการศึกษาที่พบว่าการติดเชื้อ COVID-19 ในผู้ป่วย ARDS ทำให้สัดส่วนการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น แต่บางการศึกษากลับพบว่า สัดส่วนการเสียชีวิตของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ COVID-19 ไม่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์:   เพื่อเปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์การตายระหว่างผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ COVID-19 ภายใน 28 วัน หลังรับการรักษา

วิธีการศึกษา:   การศึกษารูปแบบ Observational retrospective cohort study กลุ่มศึกษาแบ่งเป็นผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ COVID-19 ศึกษาผลของการติดเชื้อ COVID-19 ต่ออัตราอุบัติการณ์การตายที่ระยะเวลา 28 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดย Multivariable Poisson regression

ผลการศึกษา:   อัตราอุบัติการณ์การตายของผู้ป่วยARDSที่ติดเชื้อเทียบกับไม่ติดเชื้อ COVID-19 ลดลง 6% โดยมีค่า 95%CI อยู่ที่ 0.65-1.35 และเมื่อปรับอิทธิพลของปัจจัยกวน อัตราอุบัติการณ์การตายของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อ COVID-19 ลดลง 15% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีค่า 95%CI อยู่ที่ 0.57-1.25

สรุป:   การศึกษาพบว่าอัตราอุบัติการณ์การตายในโรงพยาบาลที่ 28 วันของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อ COVID-19 ไม่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อ COVID-19 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องคำนึงถึงอาการและความสำคัญทางคลินิก ดังนั้นจึงควรติดตามอาการของผู้ป่วย ARDS ที่ติดเชื้อ COVID-19 อย่างใกล้ชิด

คำสำคัญ:   COVID-19, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, อัตราอุบัติการณ์การตาย

เอกสารอ้างอิง

Bellani G, Laffey JG, Pham T, Fan E, Brochard L, Esteban A, et al. Epidemiology, Patterns of Care, and Mortality for Patients With Acute Respiratory Distress Syndrome in Intensive Care Units in 50 Countries. JAMA 2016;315(8):788.

Chindavech N. Characteristics and Clinical Outcomes of Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS) in Medical Intensive Care Unit. Med J SISAKET SURIN BURIRAM Hosp 2015;30(2):71–84.

Chaiwat O, Suwannasri W, Sakaroonchai J, Kanavitoon S, Piriyapathsom A, Sirisatjawat C, et al. Incidence and outcomes of acute lung injury in the surgical intensive care unit of a tertiary care hospital in Bangkok, Thailand. Asian Biomed 2016;10(4):379–85.

Wendisch D, Dietrich O, Mari T, von Stillfried S, Ibarra IL, Mittermaier M, et al. SARS-CoV-2 infection triggers profibrotic macrophage responses and lung fibrosis. Cell 2021;184(26):6243-61.e27.

Gujski M, Jankowski M, Rabczenko D, Goryński P, Juszczyk G. The Prevalence of Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS) and Outcomes in Hospitalized Patients with COVID-19—A Study Based on Data from the Polish National Hospital Register. Viruses 2022;14(1):76.

Hsieh YH, Chang HT, Wang PH, Chang MY, Hsu HS. Mortality in patients with COVID-19 versus non-COVID-19- related acute respiratory distress syndrome: A single center retrospective observational cohort study. PLoS One 2023;18(6): e0286564. doi: 10.1371/journal.pone. 028 6564.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-30

วิธีการอ้างอิง