การถอดบทเรียนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับระดับ 3-4 แ ละไม่มีผู้ดูแล

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ปัญญาดี Long Hospital
  • หทัยรัตน์ พงษ์ศิริแสน Long Hospital
  • สุทธิณี สิทธิหล่อ Long Hospital
  • หัสยาพร อินทยศ Long Hospital

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ถอดบทเรียนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ ระดับ 3-4 และไม่มีผู้ดูแล 2) พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ ระดับ 3-4 และไม่มีผู้ดูแล ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม จำนวน 3 คน พยาบาลผู้ควบคุมการติดเชื้อ จำานวน 1 คน พยาบาลตึกผู้ป่วยใน จำนวน 2 คน แพทย์ผู้รับผิดชอบงานดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน จำนวน 1 คน อสม.ผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย จำนวน 3 คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลห้วยอ้อ จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและ
การสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสังเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า บทเรียนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ
ระดับ 3-4 และไม่มีผู้ดูแล คือ การมีเครือข่ายความร่วมมือโดยเครือข่ายชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และเป็นกรณีตัวอย่างทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้การดูแล
ผู้ป่วย เกิดเป็นต้นแบบในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ ระดับ 3-4 และไม่มีผู้ดูแล และสกัดทักษะจำเป็นของพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับ ระดับ 3-4 และไม่มีผู้ดูแล 1) ระยะก่อนเยี่ยมใช้หลักการแบ่งงานกันทำในการเตรียมผู้ป่วย อุปกรณ์เครื่องใช้ และสภาพแวดล้อมที่บ้าน และการประสานงานกับเครือข่ายในชุมชน โดยใช้หลักการบริหาร 4 M 2) ระยะระหว่างเยี่ยมใช้การประเมินภาวะสุขภาพ สิ่งแวดล้อม/ ชุมชน อสม. ผู้ดูแล การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล บันทึกการพยาบาล และการประชาสัมพันธ์ขอรับสนับสนุน 3) ระยะหลังเยี่ยมบ้าน ใช้การกำหนดแผนการพยาบาลต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-02-07