This is an outdated version published on 2024-04-22. Read the most recent version.

ผลของรูปแบบการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ของโรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วรรณพร บุญดา โรงพยาบาลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ, รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศอเมริกา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความสำคัญและความเป็นมา: การบริหารจัดการและการจัดระบบบริการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุนับว่ามีความสำคัญต่อ ความอยู่รอดและคุณภาพชีวิตของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ จึงมีความสำคัญที่ต้องได้รับการประเมินผล และวิเคราะห์สถานการณ์ระบบบริการที่ดำเนินการอยู่เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนา ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุด เกิดเหตุ ของโรงพยาบาลวังทองจังหวัดพิษณุโลกโดยนำกรอบแนวคิดรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศอเมริกา (Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA) ประยุกต์เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบ รวมทั้งวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ ระบบงานด้วยเทคนิคWhy-Why Analysis Critical-to-Quality และ Service Quality Model

วิธีการศึกษา: การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการ วิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (ขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 4 ส่วนที่ 1 ใช้ผลการศึกษาในปี 2560-2561 ของวรรณพร บุญดา (ผู้วิจัย) และพงศ์พิษณุ บุญดา ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนผู้ได้รับการบาดเจ็บที่รับการบริการ การแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุในเขตอำเภอวังทองจังหวัดพิษณุโลกช่วงเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2566 และ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยได้แก่ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุด เกิดเหตุ แบบบันทึกการทดลอง และสอบถามความความคิดเห็นต่อระบบและองค์ประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เช่น ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ การทดสอบ (t-test dependent sample) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Exploratory Factor Analysis; EFA)

ผลการศึกษา: ผลการวิจัย พบว่า ในปี 2562-2566 ผลการทดลองใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ พบว่า ทีมบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ 9 ขั้นตอน หลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุยังคงมีองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ 1) รับแจ้งเหตุ 2) สอบถามรายละเอียดข้อมูล 3) ประเมินสถานการณ์เพื่อออก ปฏิบัติงาน 4) รายงานศูนย์สั่งการ 5) ทีม ALS ออกปฏิบัติงาน 6) ทีม FR และอื่นๆออกปฏิบัติงาน 7) ประเมินสถานการณ์ที่ เกิดเหตุ และแจ้งกลับขอความช่วยเหลือ 8) ปฐมพยาบาล และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บตามระดับความรุนแรงและ 9) รายงาน สถานการณ์มายังห้องฉุกเฉิน โดยมีค่า KMO…….. ความแปรปรวน…….%  

สรุปและอภิปรายผลการศึกษา: จึงสรุปได้ว่า ขั้นตอนการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุนี้ ยังคงมีความเหมาะสมและสามารถนำมาใช้ได้ประสบความสำเร็จ  รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้กับหน่วยบริการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการต่อไป

คำสำคัญ: ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ, รางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศอเมริกา

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

โรงพยาบาลวังทอง. (2559). สรุปผลงานโรงพยาบาลวังทองประจำปี 2559

ศูนย์กู้ชีพนเรนทร. [ออนไลน์]. (2560, 12 กุมภาพันธ์). ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS system). เข้าถึงได้จาก http:// www. narenthorn.or.th/ node/40.

สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย. (2549). เอกสารประกอบการบรรยายเวทีถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. บุรีรัมย์: สำนักงาน สาธารณสุขบุรีรัมย์.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). กฎหมายที่เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคำสั่งแพทย์และการอำนวยการ. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่ สพฉ. กำหนด พ.ศ. 2556. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (2556). รายงานสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉินปี 2556.นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2554). แนวทางการปฏิบัติสำหรับอาสาฉุกเฉินชุมชน. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2554). รายงานสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉินปี 2554. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2545). คู่มือการดำเนินกิจกรรม 5 ส โครงการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตราชการ. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

Boonda, P. (2018). Main Steps of Doing Research and Development in Public Health. Med J Clin Trials Case Stud, 2(10): 000183. DOI: 10.23880/mjccs-16000183.

Boonda, P. (2019). Techniques for Writing Chapter I of Research and Development in Public Health. Med J Clin Trials Case Stud, 3(4): 000222. DOI: 10.23880/mjccs-16000222

Boonda, P. (2020). A Technique of Modeling in Public Health Research and Development, World Journal of Public Health. 5(4):pp. 89-98. doi:10.11648/j.wjph.20200504.13

Boonda P. (2019) Process of Research and Development in Public Health. Int J Clin Case Stud Rep, 1(3): 61-65.

Boonda, P. (2021). Main Steps of Doing Research and Development in Public Health: An Observational Study. New Frontiers in Medicine and Medical Research Vol. 14, 80–86.

Boonda, P. (2021). Techniques of Writing Chapter 1 for Research and Development in Public Health.New Frontiers in Medicine and Medical Research Vol. 14, 65–79.

Brown, W.B., & Moberg, D.J. (1980). Organizational Theory and Management: A Macro Approach. New York: John Wiley & Sons.

Husen, T. & Postlethwaite, N.T. (1994) The international encyclopedia of education. 2 nd ed New York : Pergawon press Inc.

Keeves, P. J. (1988). Educational research methodology, and measurement: An international handbook. Oxford, England: Pergamon Press.

Parasuraman, A.,Zeithaml,V.A., and Berry, L.L., (1988). “SERVQUAL: A Multiple-item scale for mearsuring consumer perceptions of service quality”, Journal of Retailing, Vol. 64, No.1, pp.12-40.

Seth N., Deshmukh S.G., and Vrat, P.,(2005). “Service quality models: a review”, International Journal of Quality & Reliability Management, Vol. 22, No.9,pp. 913-949.

Parasuraman, A.,Zeithaml, V.A., and Berry, L.L.,(1985). “A conceptual model of service quality and its implications for future research”, Journal of Marketing, Vol. 49, No. 1, pp. 41-50.

Lim, P.C. and Tang, N.K.H., (2000). “A study of patients' expectations and satisfaction in Singapore hospitals”, International Journal of Health Care Quality Assurance, Vol.13, No.7, pp. 290-299.

Pizam, A., (2005). The Encyclopaedia of Hospitality, Oxford: Butterworth-Heinemann.

Zeithaml,V.A., Parasuraman, A.,and Berry, L.L., (1990). Delivering quality service: balancing customer perceptions and expectations, New York: Free Press.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

เวอร์ชัน