ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ประนอม กาญจนวณิชย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 72.09 มีอายุระหว่าง 44-78 ปี เฉลี่ย 61.06 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 46.77 และมีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 36.18 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 68.99 2) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ต่ออุปสรรคในการปฏิบัติดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับดี  ( =2.73, =.261, ( =2.84, =.216, ( =2.73, =.239, ( =2.85, =.245 และ ( =2.35, =.230 ตามลำดับ) 3) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ถึงประโยชน์และการรับรู้ต่ออุปสรรคในการปฏิบัติดูแลตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (r = .172, .233, .248, .388 และ .047 ตามลำดับ) และ 4) อายุ และการรับรู้ถึงประโยชน์ในการปฏิบัติดูแลตนเอง ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร้อยละ 17.80 (R2 = .178)

จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรสาธารณสุขควรส่งเสริมการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัด เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดี สามารถเป็นแบบอย่างการดูแลสุขภาพให้กับคนในชุมชนต่อไปได้

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20