ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วงศธร อ่อนศรีบุตร โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ, อุบลราชธานี 34000
  • นิยม จันทร์นวล วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน   ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 195 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอนบราคระหว่าง 0.73 - 0.74 วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี จากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 87.5 มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 39.9 คน ในครอบครัวไม่เคยป่วยด้วยโรค COVID-19 ร้อยละ 64.1 ส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนโควิด 19 จำนวน 3 เข็ม ร้อยละ 66.7 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.2 พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 อยู่ในระดับควรปรับปรุง ร้อยละ 61.5 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเอง ทักษะการตัดสินใจ ทักษะความรู้เท่าทันสื่อ ทักษะความรู้ความเข้าใจ และทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการทางสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .524, .421, .398, .344, .307, .223 และ .218 ตามลำดับ) ดังนั้น ควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ภายในประเทศ. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/ (24 ต.ค. 2565)

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฏกำจร และดวงใจ ปันเจริญ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัfเชียงราย. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 200-215.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา 2563; 137(48ง): 1.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ และเสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(1), 150-157.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). หนังสือเรียนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เรื่อง ขอปรับปรุงรายงานผลการปฏิบัติงาน อสม.เฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในชุมชนฯ. เข้าถึงได้จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/frontend/theme/view_information.php?Submit=ViewContent&ID_Inf_Nw_Manager=0000001959 (4 กันยายน 2565)

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ .(2562). โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ค้านสุขภาพ เรื่อง การป้องกันวัณโรคในชุมชน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จิตรา มูลทิ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ สคร. 9, 27(2), 5-14.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช และชาตินัย หวานวาจา. (2562). ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารประชากรศาสตร์, 36(2), 40-57.

ดาวรุ่ง เยาวกูล ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม และนิภา มหารัชพงศ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(1), 257-271.

เบญจมาพร อาดัมเจริญ และวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคโควิด 19 ในยุคชีวิตวิถีใหม่ของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาล, 71(3), 27-35.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช รัถยานภิศ รัชตะวรรณ และบุญประจักษ์ จันทร์วิน. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเอง และสังคมจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 361-375.

พรพญา เตปิน, วราภรณ์ บุญเชียง และศิริตรี สุทธจิตต์. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร, 39(2), 72-80.

วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126-137.

วีระ กองสนั่น และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(1), 35-44.

ศุภัคชญา ภวังคะรัต สมภพ อาจชนะศึก และปิยะณัฐ นามชู. (2563). การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน. คู่มือแนะนำสำหรับ อสม. เข้าถึงได้จาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/interesting-issues/article (22 กรกฎาคม 2565)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). เอกสารการประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) : โรคติดเชื้อไวรัวโคโรนา 2019 (Coronavirus disease 2019 : COVID-19) จังหวัดอุบลราชธานี ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2565.

Best, J.W. (1981). Research in Education. (3rd ed). Engelwood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall, Inc.

Buchner, A. (2010). G*Power: Users Guide-Analysis by design. Web Page of Heinrich-Heine Universität - Institute fur experimentally Psychologies. Available from : http://www.psycho. uniduesseldorf.de/abteilungen/ aap/gpower3.

Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. (2nd ed). Academic Press.

Hoa, V. H, Giang, T. H., Vu, T. P., Tuyen, V. D., & Khue, M. P. (2020). Factors associated with health literacy among the elderly people in Vietnam. Hinda Wi BioMed Research International, 2020(1), 1-7

Khumthong T. (2016). A causal model and effect of health literacy to health behavior and health outcome of risk Thai adults with diabetes and hypertension in Uthai Thani and Ang Thong province [Dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University. 2016. (in Thai).

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of Health Literacy. Social Science & Medicine. 67: 2072-2078.

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies in to the 21" century. Health Promotion International, 15(3), 259-267. 10.1093/heapro/15.3.259.

Office for health research translation. (2015). Situation review and mechanisms for managing health literacy. Department of preventive and social medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University; (in Thai).

Wiersma, W., & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9thed). Massachusetts: Pearson.

Xinying Sun et al. (2013). Determinants of health literacy and health behavior regarding infectious respiratory diseases: a pathway model. BMC Public Health, 13(261), 1-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-03-09