การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ ในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, พระสงฆ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ 1) คณะสงฆ์ จำนวน 30 รูป 2) เครือข่ายทั้งภายในพื้นที่และภายนอกพื้นที่วัด ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired samples t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของพระสงฆ์ส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร รองลงมาคือ ความดันโลหิตสูง ปวดหลัง ปวดเอว ไขมันในเลือด และข้อเสื่อม เมื่อเจ็บป่วยพระสงฆ์ส่วนใหญ่จะซื้อยาฉันเอง พระสงฆ์มีสิทธิรักษาพยาบาล คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 31.88 ระดับพฤติกรรมสุขภาพองค์รวม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการด้านสุขภาพ ได้แก่ ห้องปฐมพยาบาล เวชภัณฑ์ยา และการได้รับตรวจสุขภาพประจำปี รูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ โดยการ มีส่วนร่วมของเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมสุขภาพ 2) การป้องกันโรค 3) การรักษาพยาบาล และ 4) การฟื้นฟูสภาพ ตามหลักการเรียนรู้สุขภาพองค์รวมวิถีพุทธและวัฒนธรรมอีสาน ภายหลังจาก การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ เพิ่มขึ้น 5.67 คะแนน ช่วงเชื่อมั่น 95% CI อยู่ระหว่าง 4.88 ถึง 6.46 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.