คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลพรานกระต่าย

Oral Health Related to Quality of life among the Elderly Population in Phran Kratai Hospital Area

ผู้แต่ง

  • พัชรี เรืองงาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์          :  เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

สถานที่ศึกษา          :  เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลพรานกระต่าย ในตำบลถ้ำกระต่ายทองและตำบลพรานกระต่าย

รูปแบบการวิจัย      :  การวิจัยแบบภาคตัดขวาง

กลุ่มตัวอย่าง           : ผู้สูงอายุจำนวน 416 คน สุ่มตัวอย่างโดยเจาะจงในผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการศึกษา            :  เก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ด้วยแบบประเมินสภาวะสุขภาพช่องปาก แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยใช้ดัชนี The Oral Impacts on Daily Performances (OIDP)   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ (Chi-square) และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (binary logistic regression) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา           :  ผู้สูงอายุ ร้อยละ 39.9 เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างน้อย 1 กิจกรรม  ค่ามัธยฐานรวมของผลกระทบเท่ากับ 0.0 (คะแนนต่ำสุด-สูงสุด เท่ากับ 0-54.5) เป็นกิจกรรมด้านการกินหรือการเคี้ยวอาหารมากที่สุด ร้อยละ 35.5  รองลงมาคือ การรักษาอารมณ์และจิตใจเป็นปกติร้อยละ 18.0  ความรุนแรงของปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยและน้อยมาก ปัญหาที่ส่งผลกระทบในระดับรุนแรงมากที่สุดคือด้านการกินหรือการเคี้ยวอาหารพบร้อยละ 7.0  ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากคือ  ความต้องการใส่ฟันเทียม (OR 10.04; 95%Cl 5.77-17.48, P<0.001) และจำนวนคู่สบฟันหลัง (OR 1.62; 95%Cl 1.04-2.55, P=0.030)

วิจารณ์และสรุป     :  สาเหตุหลักของปัญหาในช่องปากที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตคือการสูญเสียฟันโดยเฉพาะฟันหลัง และผลกระทบจากการใส่ฟันเทียม  ดังนั้นควรเพิ่มการเข้าถึงบริการทำฟันเทียมในผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลพรานกระต่ายและมีระบบนัดตรวจสภาพฟันเทียมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ                  :  คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก  ผู้สูงอายุ   

 

Abstract

Objectives           : The purpose was to assess the oral health related to quality of life and the impacts of oral health related to quality of life among the elderly population.

Setting                 :  In Phran Kratai Hospital area, tambon Tham Kratai Thong and tambon Phran Kratai

Design                  :  Cross-sectional analytic study

Subjects               :  The 416 elderly patients were selected by simple random sampling and convenient sampling in screening for diabetes and hypertension surveys among the elderly population.

Method                :  Data collecting by using oral health examination, general information questionnaire and Oral Impacts on Daily Performances index (OIDP) during June to July 2019. Analysis of Chi-square test and binary logistic regression, p-value < 0.05.

Result                   :  166 subjects (39.9 %, median = 0.0, min-max = 0-54.5) have at least one oral impact which the most common difficulty is eating (35.3 %) emotional status (18.0 %). The intensity of oral impact on daily performance are low and very low intensity and eating behavior is very high intensity (7.0 %). Prosthetic need and posterior teeth pairs are impact to oral health-related quality of life.

Conclusion         :  The main cause of oral impact on daily performance is loss of teeth especially posterior teeth pairs and the effect of denture. Improving the access to prosthetic services to the elderly population in tambon  Tham Kratai Thong and tambon Phran Kratai and should receive periodically recall.

Key words           :  oral health related to quality of life, elderly

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-05-27

วิธีการอ้างอิง

เรืองงาม พัชรี. 2021. “คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลพรานกระต่าย: Oral Health Related to Quality of Life Among the Elderly Population in Phran Kratai Hospital Area”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (2). Nakhonsawan Thailand:130. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10149.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)