ความชุกของโรคนิ่วในท่อไตที่ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสี ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช ธงทอง โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความชุก, นิ่วในท่อไต, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์    :     เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบโรคนิ่วในท่อไตที่ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสี

วิธีการศึกษา     :     ศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาชนิดภาคตัดขวางในผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติต่างๆและคิดถึงสาเหตุจากโรคนิ่วในท่อไตที่มารับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสีในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 146 คน ผู้ป่วยทุกคนได้รับการอ่านภาพรังสีวินิจฉัยโดยรังสีแพทย์ท่านเดียว เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย เพศ อายุ ตำแหน่งของนิ่วในท่อไต ขนาดของนิ่วในท่อไต การอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ hydronephrosis, hydroureter, perinephric fat stranding, periureteric fat stranding และ soft tissue rim sign วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลทั่วไป และสถิติเชิงวิเคราะห์โดยใช้ Chi-square test และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา     :     ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคนิ่วในท่อไตมีจำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 เป็นเพศชาย ร้อยละ 88.5 อายุเฉลี่ย 51.7 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.3 ปี พบนิ่วในตำแหน่งท่อไตส่วนปลายมากที่สุด จำนวน 20 คน (ร้อยละ 38.5) นิ่วในท่อไตขนาด 4 มิลลิเมตร เป็นขนาดนิ่วที่พบมากที่สุด จำนวน 12 คน (ร้อยละ 23.1) ผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตและมีระบบทางเดินปัสสาวะอุดตันมีจำนวน 44 คน (ร้อยละ 84.6) และพบว่าอาการแสดงที่พบมากที่สุดคือ hydroureter ปัจจัยด้าน เพศ อายุ ระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน, hydronephrosis, hydroureter, perinephric fat, stranding periureteric fat stranding และ soft tissue rim sign มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบโรคนิ่วในท่อไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value น้อยกว่า 0.05)

สรุป                    :     พบความชุกของโรคนิ่วในท่อไตจำนวนมากจากการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสีในผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติต่างๆและคิดถึงสาเหตุจากโรคนิ่วในท่อไต พบว่า เพศ อายุ การมีระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน, hydronephrosis, hydroureter, perinephric fat stranding, periureteric fat stranding และ soft tissue rim sign มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบโรคนิ่วในท่อไตประโยชน์อย่างมาก ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนิ่วในท่อไตได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ            :     ความชุก นิ่วในท่อไต เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสี

เอกสารอ้างอิง

Tosukhowong P, Yachantha C, Sasivongsbhakdl T. Nephrolithiasis: Pathophysiology, therapeutic approach and health promotion. Chula Med J 2006 Feb; 50(2): 103 - 23.

Trinchieri A. Epidemiology of urolithiasis: an update. Clin Cases Miner Bone Metab 2008; 5(2): 101–6.

Khan SR, Kok DJ. Modulators of urinary stone formation. Front Biosci 2004;9:1450-82.

Trinchieri A. Epidemiology of urolithiasis. Arch ItalUrolAndrol. 1996;68:203–50.

Marikatat M, Apiwatgaroon A, Pripatnanont C. Urolithiasis in Songklanagarind Hospital; southern Thailand, Prince of Songklauniversity. Med J 2002; 20(4): 251-9.

Yanagawa M, Kawamura J, Prasongwattana V, Borwompadungkitti S. Incidence of urolithiasis on northeast Thailand. Int J Urol 1997;4:537-40.

Stamatelou KK, Francis ME, Jones CA, Nyberg LM, Curhan GC. Time trends in reported prevalence of kidney stones in the United States: 1976-1994. Kidney Int 2003;63:1817–23.

Stamatiou KN, Karanasiou VI, Lacroix RE, Kavouras NG, Papadimitriou VT, Chlopsios C, et al. Prevalence of urolithiasis in rural Thebes, Greece. Rural Remote Health 2006;6:610.

Taylor EN, Stampfer MJ, Curhan GC. Dietary factors and the risk of incident kidney stones in men: new insights after 14 years of follow-up. J Am SocNephrol2004;15(12):3225-32.

Abdel-Gawad M, Kadasne RD, Elsobky E, Ali-El-Dein B, Monga M. A prospective comparative study between colordoppler ultrasound with twinkling and non-contrast computed tomography in the evaluation of acute renal colic. J Urol 2016; 196: 757–62.

Ulusan S, Koc Z, Tokmak N. Accuracy of sonography for detecting renal stone: comparison with CT. J Clin Ultrasound JCU 2007; 35: 256–61.

Fulgham PF, Assimos DG, Pearle MS, Preminger GM. Clinical effectiveness protocols for imaging in the management of ureteral calculous disease: AUA technology assessment. J Urol 2013; 189: 1203–13.

Katz DS, Lane MJ, Sommer FG. Unenhanced helical CT of ureteral stones: incidence of associated urinary tract findings. AJR Am J Roentgenol. 1996;166(6):1319-22.

Chen MYM, Zagoria RJ, Saunders HS. Trends in the use of unenhanced helical CT for acute urinary colic. AJR 1999;173:1447-50.

KaragiannisA, Skolarikos A, Alexandrescu E. Epidemiologic study of urolithiasis in seven countries of South-Eastern Europe: S.E.G.U.R. 1 study. Arch ItalUrolAndrol 2017; 89(3):173-7.

Smith RC, Verga M, Dalrymple N, McCarthy S, Rosenfield AT. Acute ureteral obstruction: value of secondary signs on helical unenhanced CT. AJR 1996; 167:1109-13.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-27

วิธีการอ้างอิง

ธงทอง ชมพูนุช. 2021. “ความชุกของโรคนิ่วในท่อไตที่ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ใช้สารทึบรังสี ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (3). Nakhonsawan Thailand:179. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10536.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)