ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน ในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • สลิล เพิ่มกสิกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล, ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง, ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น, เวชกิจฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   :   เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดนครสวรรค์

วิธีการศึกษา   :   เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ได้รับการดูแลโดยทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (advance life support: ALS) และทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (basic life support: BLS) ในจังหวัดนครสวรรค์และนำส่งโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติก่อนมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 12 มีนาคม 2564 จำนวน 105 คน และกลุ่มที่ได้รับการดูแลภายหลังมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลตั้งแต่ 13 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2564 จำนวน 105 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ศึกษาความเหมาะสมของการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มโดยใช้สถิติ Student’s t-test หรือ Mann-Whitney test สำหรับตัวแปรต่อเนื่อง และ Fischer’s exact test สำหรับตัวแปรกลุ่ม กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P value น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา   :   กลุ่มก่อนมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติงานพบว่า ทีม ALS มีการดูแลทางเดินหายใจ การดูแลการห้ามเลือด การดูแลการดามกระดูกคอ การดูแลการดามกระดูกรยางค์ และการดูแลการให้สารน้ำทดแทน ได้เหมาะสม ร้อยละ 100 ในทุกลำดับ ส่วนในทีม BLS มีการดูแลทางเดินหายใจ การดูแลการห้ามเลือด การดูแลการดามกระดูกคอ การดูแลการดามกระดูกรยางค์ และการดูแลการให้สารน้ำทดแทน ได้เหมาะสมร้อยละ 100, 97.1, 98.8, 95.3 และ 100 ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มหลังมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติงานพบว่า ทีม ALS มีการดูแลทางเดินหายใจ การดูแลการห้ามเลือด การดูแลการดามกระดูกคอ การดูแลการดามกระดูกรยางค์ และการดูแลการให้สารน้ำทดแทน ได้เหมาะสมร้อยละ100 ในทุกลำดับ ส่วนในทีม BLS มีการดูแลทางเดินหายใจ การดูแลการห้ามเลือด การดูแลการดามกระดูกคอ การดูแลการดามกระดูกรยางค์ และการดูแลการให้สารน้ำทดแทน ได้เหมาะสมร้อยละ 100, 97.5, 100, 100 และ 100 ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มไม่พบความแตกต่างกันในความเหมาะสมของการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

สรุป            :   ความเหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในกลุ่มก่อนมีการจัดอบรมและกลุ่มหลังมีการจัดอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดนครสวรรค์นั้นไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ       :   การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง ทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. นนทบุรี: กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ; 2562.

Murad MK, Husum H. Trained lay first responders reduce trauma mortality: a controlled study of rural trauma in Iraq. Prehosp Disaster Med 2010;25:533-9.

Aekka A, Abraham R, Hollis M, Boudiab E, Laput G, Purohit H, et al. Prehospital trauma care education for first responders in India. J Surg Res 2015;197:331-8.

Laput G, Aekka A, Hollis M, Boudiab E, Abraham R, Purohit H, et al. Prehostipal trauma care education for first responders in Rajasthan, India: a multi-institutional study. J Am Coll Surg 2015;221:75.

Johansson J, Blomberg H, Svennblad B, Wernroth L, Melhus H, Byberg L, et al. Prehospital trauma life support (PHTLS) training of ambulance caregivers and impact on survival of trauma victims. Resuscitation 2012;83:1259-64.

Teuben M, Löhr N, Jensen KO, Brüesch M, Müller S, Pfeifer R, et al. Improved pre-hospital care efficiency due to the implementation of pre-hospital trauma life support (PHTLS) algorithms. Eur J Trauma Emerg Surg 2020;46:1321-5.

ศูนย์ข้อมูลและสถิติโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. ข้อมูลสถิติงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์; 2563.

Mohan SC, Bhatia MB, Martinez CR, Suria N, Helenowski I, Thakur N, et al. Evaluation of a first responders course in rural north India. J Surg Res 2021;268:485-90.

Eisner ZJ, Delaney PG, Thullah AH, Yu AJ, Timbo SB, Koroma S, et al. Evaluation of a lay first responder program in Sierra Leone as a scalable model for prehospital trauma care. Injury 2020;51:2565-73.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-05

วิธีการอ้างอิง

เพิ่มกสิกรรม สลิล. 2022. “ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน ในจังหวัดนครสวรรค์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (2). Nakhonsawan Thailand:113. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/11662.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)