การประเมินความรู้ด้านยาเสพติด ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด และทัศนคติต่อการบำบัดรักษายาเสพติดในโปรแกรมการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • นีรนุช โชติวรางกูล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การประเมินความรู้ด้านยาเสพติด, ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด, ทัศนคติต่อการบำบัดรักษายาเสพติด, โปรแกรมการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   : เพื่อประเมินและเสริมสร้างความรู้ด้านยาเสพติด เปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดก่อนและหลังการบำบัด ศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดและทัศนคติต่อการบำบัดยาเสพติด ศึกษาอัตราผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดและได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่อง 1 ปี (retention rate) และเปรียบเทียบระดับความรู้และการไม่เสพซ้ำ

วิธีการศึกษา   : เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) แบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest- posttest design) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทุกคนที่วินิจฉัยว่าเป็นผู้เสพ ผู้ติดสารกระตุ้นประสาทที่เข้าบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ 25 มกราคม 2563 ถึง 24 มกราคม 2564 และติดตามผล 1 ปีหลังจบการบำบัด ถึง 25 มกราคม 2565 จำนวน 71 คน ขั้นตอน คือ 1) ประเมินความรู้ด้านยาเสพติด ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด และทัศนคติต่อการบำบัดระยะเตรียมการ 2) เสริมสร้างความรู้เรื่องโทษและผลกระทบยาเสพติดก่อนบำบัดสัปดาห์ที่ 1 ระหว่างบำบัดสัปดาห์ที่ 8 และหลังจบการบำบัดสัปดาห์ที่ 16 ด้วยชุดเสริมสร้างความรู้ 15 เรื่อง และ 3) ประเมินความรู้ด้านยาเสพติด ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด และทัศนคติต่อการบำบัดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดของผู้ป่วยก่อนและหลังจบการบำบัด โดยใช้ paired samples t-test และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด และทัศนคติต่อการบำบัดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยใช้ Pearson product moment correlation coefficient กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05 ศึกษาอัตรา retention rate และจัดกลุ่มคะแนนความรู้ผู้ป่วยเปรียบเทียบกับการไม่เสพซ้ำ

ผลการศึกษา   : หลังจบการบำบัดผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (คะแนนเฉลี่ย 9.25±2.73 และ 12.58±2.10, P<0.001) ความรู้รายข้อเพิ่มขึ้นทุกข้อ และทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดก่อนและหลังจบการบำบัด ด้านเห็นผลดีจากการใช้ยาเสพติด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (คะแนนเฉลี่ย 18.27±6.24 และ 14.62±6.53, P<0.001) และด้านความต้องการใช้ยาเสพติด (คะแนนเฉลี่ย 9.92±5.21 และ 8.01±4.49, P=0.009) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกันซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย ยกเว้นด้านผลกระทบต่อร่างกาย การเงินและครอบครัวที่ไม่แตกต่างกัน (คะแนนเฉลี่ย 13.52±1.40 และ 13.86±1.49, P=0.098) ความรู้ด้านโทษและผลกระทบยาเสพติดหลังจบการบำบัด กับทัศนคติต่อการบำบัดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจบการบำบัดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.017) และทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดหลังจบการบำบัดมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการบำบัดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจบการบำบัด โดยทัศนคติด้านเห็นผลดีจากการใช้ยาเสพติด (P<0.001) ทัศนคติด้านความต้องการยาเสพติด (P=0.025) และมีทิศทางผกผันกัน โดยมีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ยาเสพติดลดลง แต่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการบำบัดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย การติดตามผู้ป่วยครบ 1 ปี มีอัตราไม่เสพซ้ำร้อยละ 93.0 เทียบกับปี 2562 ที่ร้อยละ 80.5 โดยกลุ่มผู้ป่วยที่คะแนนความรู้หลังจบการบำบัดระดับสูงมีอัตราไม่เสพซ้ำร้อยละ 96.8 กลุ่มคะแนนปานกลางมีอัตราไม่เสพซ้ำร้อยละ 66.7 และมีอัตรา retention rate ร้อยละ 76.3 เทียบกับปี 2562 ที่ร้อยละ 58.1

สรุป            : การวิจัยนี้มีประสิทธิผลดี ผู้ป่วยมีความรู้ด้านโทษและผลกระทบยาเสพติดเพิ่มขึ้น ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดหรือเห็นผลดีต่อการใช้ยาเสพติดลดลง และมีทัศนคติต่อการบำบัดดีขึ้น อัตราการไม่เสพซ้ำ และอัตราผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดและได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่อง 1 ปี ได้ตามเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุข ปี2564 ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55 การวิจัยทำให้เกิดการประเมินผลเพื่อการพัฒนาการบำบัดยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อผู้ป่วย ลดปัญหายาเสพติดของประเทศ และสามารถนำรูปแบบและเครื่องมือไปใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบำบัดรักษาผู้ป่วยต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง

เปรมฤดี หงษ์สุทธิ, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ. 2560;33(3):112-23.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. โครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด นโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ส่วนวิชาการด้านยาเสพติด; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.20170301_10083551_PolicyandStat

กระทรวงยุติธรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาประจำปีงบประมาณ 2561[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Pages/main.aspx 02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1

กระทรวงยุติธรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาประจำปีงบประมาณ 2562 (สถิติปี 2558-2562) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Pages/main.aspx 02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ งานสุภาพจิตและยาเสพติด. ข้อมูลรายงานผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดเขตสุขภาพที่ 3 ปี 2560-2562. นครสวรรค์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์; 2562.

อัญชลี โตเอี่ยม, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. ปัจจัยทำนายการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2559;9(2):88-103.

สายสุดา สุขแสง, รัชตา ธรรมเจริญ, เจตน์สฤษฎ์สังขพันธ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติด ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสงขลา[อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://rd.hu.ac.th/Download%20File/Full%20Text%20 zResearch/580908.pdf

วรางคณา นพฤทธิ์. ปัจจัยและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.20160908_13381154_protec_kid

เสริมสุข ราษฎร์ดุษฎี, ดุษณีย์ชาญปรีชา, อภิรดีพฤกษาพนาชาติ, รุจิรา อาภาบุษยพันธ์. การตัดสินใจใช้ยาบ้า ของผู้เสพติดชายวัยทำงาน[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pmnidat.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=1203&Itemid=106

สุรชัย พัฒนาอุดมชัย, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, จุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ยาเสพติดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24(1):25-35.

พุทธิพร พงศ์นันทกุลกิจ, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย[อินเตอร์เน็ต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/issue/archive

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. คู่มือบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด แบบผู้ป่วยนอก รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรม : Matrix Program [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cuprint.chula.ac.th

สวัสดิ์ อุ่นใจ, กิจวัฒ นาถวิล, ญาธษา พันวิไล, สุกัญญา กาญจนบัตร, มานพ คณะโต. การประเมินการใช้

เมทริกซ์โปรแกรมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5(4):674-5.

Ling W, Rawson RA, Grella CE. Matrix institute on addictions treatment programs[internet]. California: University of California, Los Angeles; 2014 [cited 2019 Nov 30]. Available from: http://www.uclaisap.org/publications/biennial%20report/2014/matrix-institute-on-addictions.html

นีรนุช โชติวรางกูล. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้ร่วมกับการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมในผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อป้องกันการเสพซ้ำ. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขเขตสุขภาพที่3 2562; 18(3):207-12.

รอซีดี ศรีรัตน์, อัญชลี เจะแต, ธัญญภรณ์ อุปมัยรัตน์, สุดาพันธ์ จุลเอียด. ประสิทธิภาพการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัดรักษาในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ปัตตานี(รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี; 2554.

กระทรวงยุติธรรม. สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศประจำปี 2564[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2564[เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oncb.go.th/Pages/main.aspx02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1view=1587036

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษายาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. ข้อมูลสถิติจำนวนและร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมดปีงบประมาณ 2564[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันบำบัดรักษายาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pmnidat.go.th/thai/index.php?option=comcontent&task= view=207

คม เหล่าบุตรสา. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาในคดียาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/307856

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, ประภา ยุทธไตร. ปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในทางที่ผิดและติดสารของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556;

(4):371-84.

กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต. ยาเสพติด: เยาวชนไทยต้องรู้...แต่ไม่ต้องลอง[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.prdmh.com/469

นุชสา อินทะจักร, สมเดช พินิจสุนทร. มูลเหตุจูงใจในการใช้ยาเสพติดของผู้ที่เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน 2560;5(3),503-22.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อ

เอชไอวี/เอดส์ของคนประจำเรือไทย (บทคัดย่อ) [อินเทอร์เน็ต]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://outlook.live.com/mail/0/inbox/id/AQMkADAwATY3ZmYAZS1iZDhmL

กนิษฐา ไทยกล้า, สุภวัฒน์บุญมา, อริสรา สิทธิ, ชูพงศ์กันยะ, นัทกร สามปันสัก. สถานการณ์ปัญหายาเสพติด การแพร่ระบาดและผลกระทบในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ท่องเที่ยว : ศึกษากรณีเมืองเชียงใหม่ และเมืองลำพูน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://nctc.oncb.go.th/research_view.php?researchid=505

สังคม ศุภรัตนกุล. ความสัมพันธ์ของการรับรู้ ทัศนคติกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดในพื้นที่การค้าและการระบาดจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี วารสารวิชาการเสพติด 2560;5(1):26.

นภัสสรณ์ รังสิเวโรจน์. เส้นทางการเลิกยา (เอกสารประกอบการสอน)[อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/search?q=นภัสสรณ์+รังสิเวโรจน์+เส้นทางการลิกยา%

จุรี จอนนุ้ย, ศิริลักษณ์ แก่นอินทร์. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ที่เข้ารับการบำบัดด้วยวิธีเมทริกซ์โปรแกรม (matrix program) โรงพยาบาลพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย)[อินเทอร์เน็ต]. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลพรหมคีรี; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www. promkiri.go.th/detail/doc_download/a_230414_143530.pdf

วีราภรณ์ บุตรทองดี. การศึกษาทัศนคติต่อการทำงาน องค์กร และความจงรักภักดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี[อินเทอร์เน็ต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1840/1/weraporn_butt.pdf

ปรีดา ทัศนประดิษฐ์. จริยธรรมในการวิจัยผู้เสพสารเสพติด. ใน: สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา, บรรณาธิการ. ทศวรรษงานวิจัยด้านสารเสพติด วิธีวิจัยประยุกต์สู่บริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2556. หน้า 11-26

ศุภร ชินะเกตุ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงจาก: http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Suporn_Chinakate/fulltext.pdf

ปิยวรรณ ทัศนาญชลี. กระบวนการไม่เสพยาบ้าซ้ำ: กรณีศึกษาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในระบบบังคับบำบัด. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม 2554;1(3):36-48.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-06

วิธีการอ้างอิง

โชติวรางกูล นีรนุช. 2022. “การประเมินความรู้ด้านยาเสพติด ทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด และทัศนคติต่อการบำบัดรักษายาเสพติดในโปรแกรมการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (3). Nakhonsawan Thailand:236. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/11881.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)