ข้อแตกต่างของระยะเวลาในห้วงก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยอุบัติเหตุของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในช่วงการระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ กองจำปา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

โควิด-19, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ระยะเวลาในห้วงก่อนถึงโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   : เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในห้วงก่อนถึงโรงพยาบาล (prehospital time) ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 (COVID-19) กับระหว่างการระบาดของโควิด-19 ในผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับบริการรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical service : EMS) โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วยอุบัติเหตุในช่วงการระบาดของโควิด-19

วิธีการศึกษา   : เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในผู้ป่วยอุบัติเหตุที่หน่วย EMS โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ออกปฏิบัติการและนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2561 ถึง 30 พฤษภาคม 2564 จำนวน 820 คน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ ก่อนการระบาดของโควิด-19 ระหว่างเดือน ธันวาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 422 คน และระหว่างการระบาดของโควิด-19 ระหว่างเดือน มีนาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2564 จำนวน 398 คน เปรียบเทียบข้อมูล prehospital time ระหว่างกลุ่มโดยใช้ t-test, Chi-square หรือ Fisher's exact และหาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วยอุบัติเหตุในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยใช้ multivariate analysis แบบ binary logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา   : ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะประชากรไม่แตกต่างกัน โดยพบว่าในช่วงระหว่างการระบาด ของโควิด-19 มี on scene time และ total prehospital time มากกว่าในช่วงก่อนการระบาด ของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.6±5.0 vs 10.6±5.8 นาที, p <0.01 และ 27.4±13.1 vs 30.1±13.6 นาที, p=0.01) และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วยในช่วงระหว่างการระบาดของโควิด-19 คือค่า injury severity score (ISS) โดยผู้ป่วยที่มีค่า ISS มากกว่าหรือเท่ากับ 16 มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ISS น้อยกว่า 16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=7.8; 95%CI 1.5-39.4, p=0.01) และพบว่า prehospital time ไม่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วยอุบัติเหตุ

สรุป            : การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ prehospital time ในระบบ EMS ซึ่งทำให้ on scene time และ total prehospital time นานขึ้น แต่ prehospital time ที่นานขึ้นนั้นไม่ได้มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วย ปัจจัยเดียวที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือค่า ISS

คำสำคัญ       :  โควิด-19, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ระยะเวลาในห้วงก่อนถึงโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง

Jarvis S, Salottolo K, Berg GM, Carrick M, Caiafa R, Hamilton D, et al. Examining emergency medical services' prehospital transport times for trauma patients during COVID-19. Am J Emerg Med 2021;44:33–7.

Harmsen AMK, Giannakopoulos GF, Moerbeek PR, Jansma EP, Bonjer HJ, Bloemers FW. The influence of prehospital time on trauma patients outcome: a systematic review. Injury 2015;46(4):602–9.

Chen CH, Shin S do, Sun JT, Jamaluddin SF, Tanaka H, Song KJ, et al. association between prehospital time and outcome of trauma patients in 4 Asian countries: a cross-national, multicenter cohort study. PLoS Med 2020;17(10):e1003360.

Gauss T, Ageron FX, Devaud ML, Debaty G, Travers S, Garrigue D, et al. Association of prehospital time to in-hospital trauma mortality in a physician-staffed emergency medicine system. JAMA Surg 2019;154(12):1117–24.

McCoy CE, Menchine M, Sampson S, Anderson C, Kahn C. Emergency medical services out-of-hospital scene and transport times and their Association with mortality in trauma patients presenting to an urban level in trauma center. Ann Emerg Med 2013;61(2):167–74.

Suzuki T, Phonesavanh O, Thongsna S, Inoue Y, Ichikawa M. Relationship between prehospital time and 24-h mortality in road traffic-injured patients in Laos. World J Surg. 2022;46(4):800–6.

Berkeveld E, Popal Z, Schober P, Zuidema WP, Bloemers FW, Giannakopoulos GF. Prehospital time and mortality in polytrauma patients: a retrospective analysis. BMC Emerg Med 2021 1 December;21(1):78.

Brown E, Tohira H, Bailey P, Fatovich D, Pereira G, Finn J. Longer prehospital time was not associated with mortality in major trauma: a retrospective cohort study. Prehosp Emerg Care. 2019;23(4):527–37.

Brown JB, Rosengart MR, Forsythe RM, Reynolds BR, Gestring ML, Hallinan WM, et al. Not all prehospital time is equal: Influence of scene time on mortality. J Trauma Acute Care Surg 2016;81(1):93–100.

Möller A, Hunter L, Kurland L, Lahri S, van Hoving DJ. The association between hospital arrival time, transport method, prehospital time intervals, and in-hospital mortality in trauma patients presenting to Khayelitsha Hospital, Cape Town. Afr J Emerg Med 2018;8(3):89–94.

Chen X, Guyette FX, Peitzman AB, Billiar TR, Sperry JL, Brown JB. Identifying patients with time-sensitive injuries: Association of mortality with increasing prehospital time. J Trauma Acute Care Surg 2019;86(6):1015-22.

Waalwijk JF, van der Sluijs R, Lokerman RD, Fiddelers AAA, Hietbrink F, Leenen LPH, et al. The impact of prehospital time intervals on mortality in moderately and severely injured patients. J Trauma Acute Care Surg 2022;92(3):520-7.

Tien H, Sawadsky B, Lewell M, Peddle M, Durham W. Critical care transport in the time of COVID-19. CJEM 2020;S84–8.

Garcia-Castrillo L, Petrino R, Leach R, Dodt C, Behringer W, Khoury A, et al. European society for emergency medicine position paper on emergency medical systems' response to COVID-19. Eur J Emerg Med 2020;27(3):174-7.

Nuñez JH, Sallent A, Lakhani K, Guerra-Farfan E, Vidal N, Ekhtiari S, et al. Impact of the COVID-19 pandemic on an emergency traumatology service: experience at a tertiary trauma centre in Spain. Injury 2020;51(7):1414–8.

Ageta K, Naito H, Yorifuji T, Obara T, Nojima T, Yamada T, et al. Delay in emergency medical service transportation responsiveness during the COVID-19 pandemic in a minimally affected region. Acta Med Okayama 2020;74(6):513–20.

Murphy DL, Barnard LM, Drucker CJ, Yang BY, Emert JM, Schwarcz L, et al. Occupational exposures and programmatic response to COVID-19 pandemic: an emergency medical services experience. Emerg Med J 2020;37(11):707–13.

Nishiyama C, Kiyohara K, Iwami T, Hayashida S, Kiguchi T, Matsuyama T, et al. Influence of COVID-19 pandemic on bystander interventions, emergency medical service activities, and patient outcomes in out-of-hospital cardiac arrest in Osaka City, Japan. Resusc Plus. 2021;5:100088.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19

วิธีการอ้างอิง

กองจำปา กนกวรรณ. 2022. “ข้อแตกต่างของระยะเวลาในห้วงก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยอุบัติเหตุของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในช่วงการระบาดของโควิด-19”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (1). Nakhonsawan Thailand:23-36. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12296.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)