การลดจำนวนวันรอผ่าตัดของผู้ป่วยกระดูกใบหน้าหักด้วยวิธีการจัดลำดับผ่าตัดแบบใหม่

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ ฉัตรทินกร โรงพยาบาลพระปกเกล้า
  • เศวต หวังธรรมมั่ง โรงพยาบาลพระปกเกล้า
  • กฤษณ์ จงแจ่มฟ้า โรงพยาบาลพระปกเกล้า
  • ธิดา เวียงสมุทร โรงพยาบาลพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

กระดูกใบหน้าหัก, ระยะเวลาการผ่าตัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   : เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันรอผ่าตัดและจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ของผู้ป่วยกระดูกใบหน้าหัก ที่ได้รับการจัดลำดับแบบใหม่เทียบกับการจัดลำดับแบบเก่า

วิธีการศึกษา   : การศึกษานี้เป็น retrospective nonrandomized cohort study โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยกระดูกใบหน้าหักที่ต้องได้รับการผ่าตัดทุกคน ที่มารักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้าระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564 โดยกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งได้รับการจัดลำดับผ่าตัดแบบเก่ายึดตามตารางผ่าตัดของแพทย์เจ้าของไข้ จำนวน 97 คน และกลุ่มทดลองคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งได้รับการจัดลำดับผ่าตัดแบบใหม่ โดยเข้าลำดับส่วนกลาง จำนวน 83 คน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Mann-Whitney U test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา   : อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมคือ 34.8±15.3 ปี กลุ่มทดลองคือ 36.1±14.8 ปี จำนวนวันรอผ่าตัดเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมคือ 4.9±4.2 วัน ของกลุ่มทดลองคือ 4.5±3.3 วัน (P-value  = 0.81) และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมคือ 9.6±9 วัน ของกลุ่มทดลองคือ 7.4±4.6 วัน (P-value = 0.20)

สรุป            : การจัดลำดับผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกใบหน้าหักตามลำดับส่วนกลางสามารถลดระยะเวลารอผ่าตัดและลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้เมื่อเทียบกับการจัดลำดับตามตารางผ่าตัดของแพทย์เจ้าของไข้ แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ       : กระดูกใบหน้าหัก ระยะเวลาการผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง

Rothweiler R, Bayer J, Zwingmann J, Suedkamp NP, Kalbhenn J, Schmelzeisen R, et al. Outcome and complications after treatment of facial fractures at different times in polytrauma patients. J Craniomaxillofac Surg 2018;46(2):283-7.

Rohrich RJ, Shewmake KB. Evolving concepts of craniomaxillofacial fracture management. Clin Plast Surg 1992;19(1):1-10.

Ricketts S, Gill HS, Fialkov JA, Matic DB, Antonyshyn OM. Facial fractures. Plast Reconstr Surg 2016;137(2):424e-44e.

Damgaard OE, Larsen CG, Felding UA, Toft PB, von Buchwald C. Surgical timing of the orbital "Blowout" fracture: a systematic review and meta-analysis. Otolaryngol Head Neck Surg 2016;155(3):387-90.

Lander DP, Lee JJ, Kallogjeri D, Stwalley D, Olsen MA, Piccirillo JF, et al. The impact of treatment delay on malunion and nonunion after open reduction of mandible fractures. Facial Plast Surg Aesthet Med 2021;23(6):460-6.

Czerwinski M, Parker WL, Correa JA, Williams HB. Effect of treatment delay on mandibular fracture infection rate. Plast Reconstr Surg 2008;122(3):881-5.

Becelli R, Renzi G, Perugini M, Iannetti G. Craniofacial traumas: immediate and delayed treatment. J Craniofac Surg 2000;11(3):265-9.

Stacey DH, Doyle JF, Mount DL, Snyder MC, Gutowski KA. Management of mandible fractures. Plast Reconstr Surg 2006;117(3):48e-60e.

Ellstrom CL, Evans GRD. Evidence-based medicine: zygoma fractures. Plast Reconstr Surg 2013;132(6):1649-57.

Chung KJ, Kim YH, Kim TG, Lee JH, Lim JH. Treatment of complex facial fractures: clinical experience of different timing and order. J Craniofac Surg 2013;24(1):216-20.

Hurrell MJ, Batstone MD. The effect of treatment timing on the management of facial fractures: a systematic review. Int J Oral Maxillofac Surg 2014;43(8):944-50.

Hermund NU, Hillerup S, Kofod T, Schwartz O, Andreasen JO. Effect of early or delayed treatment upon healing of mandibular fractures: a systematic literature review. Dent Traumatol 2008;24(1):22-6.

World Health Organization. International statistical classification of disease and related health problems. 10th ed. Geneva: World health organization; 2010.

Suriyawongpaisa P, Thakkinstian A, Rangpueng A, Jiwattanakulpaisarn P, Techakamolsuk P. Disparity in motorcycle helmet use in Thailand. Int J Equity Health 2013;12:74.

Pungrasmi P, Haetanurak S. Incidence and etiology of maxillofacial trauma: a retrospective analysis of King Chulalongkorn Memorial Hospital in the past decade. Asian Biomedicine 2018;11(4):353-8.

Boonkasem S, Rojanaworarit C, Kansorn S, Punkabut S, Thailand. Incidence and etiology of maxillofacial trauma: a retrospective analysis of patients attending a provincial hospital in northern Thailand. Journal of Public Health and Development 2015;13:57-71.

Phillips BJ, Turco LM. Le Fort Fractures: a collective review. Bull Emerg Trauma 2017;5(4):221-30.

Biller JA, Pletcher SD, Goldberg AN, Murr AH. Complications and the time to repair of mandible fractures. Laryngoscope 2005;115(5):769-72.

Jaicks RR, Cohn SM, Moller BA. Early fracture fixation may be deleterious after head injury. J Trauma 1997;42(1):1-5; discussion -6.

Weider L, Hughes K, Ciarochi J, Dunn E. Early versus delayed repair of facial fractures in the multiply injured patient. Am Surg 1999;65(8):790-3.

Lee DW, Choi SY, Kim JW, Kwon TG, Lee ST. The impact of COVID-19 on the injury pattern for maxillofacial fracture in Daegu city, South Korea. Maxillofac Plast Reconstr Surg 2021;43(1):35.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

— อัปเดตเมื่อ 2023-01-16

วิธีการอ้างอิง

ฉัตรทินกร สุพจน์, หวังธรรมมั่ง เศวต, จงแจ่มฟ้า กฤษณ์, และ เวียงสมุทร ธิดา. 2023. “การลดจำนวนวันรอผ่าตัดของผู้ป่วยกระดูกใบหน้าหักด้วยวิธีการจัดลำดับผ่าตัดแบบใหม่”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (1). Nakhonsawan Thailand:1-6. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12458.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)