โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ น้อมพรรโณภาส โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ, โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์         :   เพื่อศึกษาลักษณะอาการทางคลินิก เชื้อที่เป็นสาเหตุ อัตราการเสียชีวิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ (infective endocarditis: IE)

วิธีการศึกษา         :   การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) ในกลุ่มผู้ป่วย IE ทุกคน ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยตาม modified Duke criteria และเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ช่วง 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2563 จำนวน 128 คน รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ประกอบด้วย อายุ เพศ โรคร่วม ลักษณะอาการทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อน ผลการตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง ผลการเพาะเชื้อในกระแสเลือด และผลการรักษา หาขนาดความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วย ด้วยสถิติ binary logistic regression ที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% Confidence Interval: IC)

ผลการศึกษา         :   พบผู้ป่วยเป็น definite IE ร้อยละ 60.9 และ possible IE ร้อยละ 39.1 ค่ามัธยฐานอายุ 48 ปี (พิสัย 16 – 80 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 71.1 ประวัติโรคหัวใจที่พบส่วนใหญ่คือ โรคหัวใจรูมาติก ร้อยละ 36.5 อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ ร้อยละ 97.7 เสียงหัวใจผิดปกติ ร้อยละ 86.7 และหายใจลำบาก ร้อยละ 57.0 ภาวะแทรกซ้อนที่พบขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือภาวะช็อกจากโรคหัวใจ ร้อยละ 21.1 ภาวะไตวาย ร้อยละ 15.6 และภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 10.2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจเดิม ร้อยละ 94.2 ตำแหน่งที่พบก้อนติดเชื้อ (vegetation) ส่วนใหญ่คือ mitral valve ร้อยละ 45.8 และ aortic valve ร้อยละ 42.5 ผลการเพาะเชื้อจากเลือดพบเชื้อก่อโรค ร้อยละ 71.9 เชื้อก่อโรคที่ตรวจพบบ่อยที่สุดคือ เชื้อ Streptococcus suis พบร้อยละ 18.5 และเชื้อ Viridans group streptococci พบร้อยละ 15.2 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เท่ากับร้อยละ 18.8 ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยคือ ภาวะแทรกซ้อนขณะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (ORadj =6.96; 95%CI 1.95-24.82, P<0.01) และภาวะหัวใจล้มเหลวหรือภาวะช็อกจากโรคหัวใจ  (ORadj =4.31; 95%CI 1.50-12.39, P=0.01)

สรุป                  :     การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วย IE ส่วนใหญ่มีอายุน้อย และโรคหัวใจรูมาติก ยังคงเป็น  underlying pathology ที่พบบ่อยที่สุด เชื้อก่อโรคหลักพบอุบัติการณ์ของ Streptococcus suis เพิ่มมากขึ้น อัตราการตายของโรคนี้ยังคงสูง โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะหัวใจล้มเหลวหรือภาวะช็อกจากโรคหัวใจ

เอกสารอ้างอิง

อาสา พิชญ์ภพ. การศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดก้อนติดเชื้อเวเจเทชันที่เยื่อบุหัวใจฝั่งซ้ายกับโอกาสการเกิดก้อนติดเชื้อแพร่กระจายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Angsutararux T, Angkasekwinai N. Cumulative incidence and mortality of infective endocarditis in Siriraj hospital-Thailand: a 10-year retrospective study. BMC Infect Dis 2019;19(1):1-9.

คมกฤษณ์ โกมุทรินทร์. Infective Endocarditis. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2558;37(2):129-38.

Habib G, Hoen B, Tornos P, Thuny F, Prendergast B, Vilacosta I, et al. Guidelines on the prevention, diagnosis, and treatment of infective endocarditis (new version 2009) : The task force on the prevention, diagnosis, and treatment of infective endocarditis of the european society of cardiology (ESC). Eur Heart J 2009;30:2369–413.

Al Abri SS, Zahedi FI, Kurup PJ, Al-Jardani AK, Beeching NJ. The epidemiology and outcomes of infective endocarditis in a tertiary care hospital in Oman. J Infect Public Health 2014;7(5):400–6.

Kaçmaz AB, Balkan II, Sinan UY, Mete B, Saltoglu N, Tabak F, et al. Epidemiological, clinical, and prognostic features of infective endocarditis: A retrospective study with 90 episodes. Cerrahpasa Med J 2021; 45(2):107-15.

Chaiwarith R, Jeenapongsa S, Sirisanthana T. Infective endocarditis at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, 2002-2003. J Infect Dis Antimicrob Agents. 2006;23(2):75-81.

Habib G, Lancellotti P, Antunes MJ, Bongiorni MG, Casalta JP, Zotti FD, et al. 2015 ESC Guidelines for the management of infective endocarditis: the task force for the management of infective endocarditis of the european society of cardiology (ESC). Eur Heart J 2015;36 (44):3075-128.

Zaqout A, Mohammed S, Thapur M, Al-Soub H, Al-Maslamani MA, Al-Khal A, et al. Clinical characteristics, microbiology, and outcomes of infective endocarditis in Qatar. Qatar Med J 2020; 2020 (24):1-10.

Zhang X, Jin F, Lu Y, Ni F, Xu Y, Xia W. Clinical characteristics and risk factors for in-hospital mortality in 240 cases of infective endocarditis in a tertiary hospital in China: a retrospective study. Infect Drug Resist 2020;15:3179–89.

Erdem H, Puca E, Ruch Y, Santos L, Ghanem-Zoubi N, Argemi X, et al. Portraying infective endocarditis: results of multinational ID-IRI study. Eur J Clin Microbiol Infect Dis. 2019;38(9):1753-63. doi: 10.1007/s10096-019-03607-x.

Hase Y, Otsuka Y, Yoshida K, Hosokawa N. Profile of infective endocarditis at a tertiary-care hospital in Japan over a 14-year period: characteristics, outcome and predictors for in-hospital mortality. Int J Infect Dis 2015;33:62–6.

อุดมศักดิ์ เลิศสุทธิพร, ปิยภัทร ชุณหรัศมิ์, วิลาวัณย์ ทิพย์มนตรี, พัชรินทร์ พันจรรยา. ความชุกโรคลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยติดเชื้อสเตร็พโตค๊อกคัสซูอิสในเลือด. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;6(4):28-37.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

วิธีการอ้างอิง

น้อมพรรโณภาส ณัฏฐ์. 2022. “โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (3). Nakhonsawan Thailand:269-84. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12464.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)