ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • ณัฐนรี ภู่พัฒนากุล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, ติดเชื้อในกระแสเลือด, ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, เด็ก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :   เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงรวมถึงผลการรักษาของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดใน

ผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

วิธีการศึกษา :   ศึกษาเชิงสังเกตชนิดวิเคราะห์ย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคไตเด็กแห่งประเทศไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 กรกฎาคม 2564 จำนวน 170 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและกลุ่มที่วินิจฉัยว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแต่ไม่พบภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วยสถิติ logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา :   ความชุกของผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะคิดเป็นร้อยละ 10.6 เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.6 ค่ามัธยฐานของอายุ 9.5 เดือน ค่ามัธยฐานของระยะเวลาอาการไข้ก่อนมาโรงพยาบาลอยู่ที่ 48 ชั่วโมง ค่ามัธยฐานระยะเวลามีไข้ทั้งหมดอยู่ที่ 7 วันและมีอุณหภูมิกายที่วัดได้เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 39.5oC เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในหอผู้ป่วยวิกฤตคิดเป็นร้อยละ 4 โดยปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่มีไข้นานมากกว่าหรือเท่ากับ 5 วัน (aOR, 13.4; 95%CI 2.77-64.96, P=0.001), มีประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมาก่อน (aOR, 4.95; 95%CI 1.14-21.57, P=0.03), ปริมานเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะที่มากกว่าหรือเท่ากับ 100 cell/HPF (aOR, 10.35; 95%CI 1.92-55.95, P=0.01), ความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 30% (aOR, 5.88; 95%CI 1.08-32.12, P=0.04) และพบผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 11.1

สรุป :             จากงานวิจัยนี้พบว่ามีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวัง ให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ปกครองและบุคลากรทางการแพทย์ให้ตระหนักถึงความสำคัญและการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต

คำสำคัญ :        ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด ความชุก ปัจจัยเสี่ยง เด็ก

เอกสารอ้างอิง

Karmazyn BK, Alazraki AL, Anupindi SA, Dempsey ME, Dillman JR, Dorfman SR, et al. Expert panel on pediatric imaging: ACR appropriateness criteria, urinary tract infection-child. J Am Coll Radiol 2017; 14(5S): S362-71.

Korbel L, Howell M, Spencer JD. The clinical diagnosis and management of urinary tract infections in children and adolescents. Paediatr Int Child Health 2017; 37(4): 273-9.

Millner R, Becknell B. Urinary tract infections. Pediatr Clin N Am 2019; 66: 1-13.

Crain EF, Gershel JC. Urinary tract infections in febrile infants younger than 8 weeks of age. Pediatrics 1990;86:363–7.

Pitetti RD, Choi S. Utility of blood cultures in febrile children with UTI. Am J Emerg Med 2002;20:271–4.

Subcommittee on Urinary Tract Infection, Steering Committee on Quality Improvement and Management, Roberts KB. Urinary tract infection: clinical practice guideline for the diagnosis and management of the initial UTI in febrile infants and children 2 to 24 months. Pediatrics 2011;128:595–610.

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอนุสาขาวิชาโรคไตเด็กแห่งประเทศไทยและชมรมโรคไตเด็กแห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กอายุ 2 เดือนถึง 5 ปี พ.ศ. 2557[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 กันยายน 2564]. 2557 เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20210108072414.pdf.

Suksantilirs S, Bunjoungmanee P, Tangsathapornpong A. Bactermia in pediatric patients in Thammasat University Hospital. Thammasat Med J. 2010;10(2):144–53.

Phasuk N, Nurak A. Etiology, treatment, and outcome of children aged 3 to 36 months with fever without a source at a community hospital in Southern Thailand. J Prim Care Community Health. 2020;11:2150132720915404.

Ginsburg CM, McCracken Jr GH. Urinary tract infections in young infants. Pediatrics 1982;69:409–12.

Schnadower D, Kuppermann N, Macias CG, Freedman SB, Baskin MN, Ishimine P, et al. American Academy of Pediatrics Pediatric Emergency Medicine Collaborative Research Committee. Febrile infants with urinary tract infections at very low risk for adverse events and bacteremia. Pediatrics 2010;126:1074–83.

Averbuch D, Nir-Paz R, Tenenbaum A, Stepensky P, Brooks R, Koplewitz BZ, et al. Factors associated with bacteremia in young infants with urinary tract infection. Pediatr Infect Dis J 2014;33:571–5.

Roman HK, Chang PW, Schroeder AR. Diagnosis and management of bacteremic urinary tract infection in infants. Hosp Pediatr 2015;5:1–8.

Megged O. Bacteremic vs nonbacteremic urinary tract infection in children. Am J Emerg Med. 2017;35(1):36–8.

Yoon SH, Shin H, Lee KH, Kim MK, Kim DS, Ahn JG, et al. Predictive factors for bacteremia in febrile infants with urinary tract infection. Sci Rep. 2020;10:4469.

Ohnishi T, Mishima Y, Matsuda N, Sato D, Umino D, Yonezawa R, et al. Clinical characteristics of pediatric febrile urinary tract infection in Japan. Int J Infect Dis. 2021;104:97–101.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

— อัปเดตเมื่อ 2023-01-16

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง

ภู่พัฒนากุล ณัฐนรี. 2023. “ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (1). Nakhonsawan Thailand:13-22. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12530.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)