การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีการหายของฟันเขี้ยวบนทั้งสองข้าง

ผู้แต่ง

  • สุหัชชา เมธีวรกุล กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน, การหายของฟันเขี้ยวบน, การใช้ฟันกรามน้อยบนซี่ที่หนึ่งทดแทน

บทคัดย่อ

 การหายของฟันเขี้ยวบนโดยกำเนิดเป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย โดยมีสาเหตุการเกิดจากทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อม ฟันเขี้ยวบนมีบทบาทสำคัญต่อรอยยิ้ม และส่งผลต่อความสวยงามของใบหน้า รวมทั้งเป็นตัวนำการเคลื่อนที่ของขากรรไกร ทำให้เกิดการสบฟันที่มีเสถียรภาพ รายงานผู้ป่วยนี้เป็นการนำเสนอการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 22 ปี ที่มาพบทันตแพทย์ด้วยปัญหาฟันหน้าบนห่าง จากการตรวจทางคลินิกและจากภาพรังสีพบมีการหายของฟันเขี้ยวบนทั้งสองข้าง และจากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างได้รับการวินิจฉัยว่ามีความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนและล่างประเภทที่ 2 ให้การรักษาโดยการจัดฟันด้วยเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่นเพื่อปิดช่องว่างบริเวณฟันหน้าบนโดยการใช้ฟันกรามน้อยบนซี่ที่หนึ่งทดแทนฟันเขี้ยวบนที่หายไป ผลการรักษาพบว่า ผู้ป่วยมีการสบฟันที่ดีมีเสถียรภาพ ผู้ป่วยมีรูปหน้าที่ดีขึ้น และไม่พบลักษณะการสบฟันที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของขากรรไกร การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งทดแทนฟันเขี้ยวบนเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาผู้ป่วยที่มีการหายของฟันเขี้ยวบนทั้งสองข้าง
คำสำคัญ: การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน การหายของฟันเขี้ยวบน การใช้ฟันกรามน้อยบนซี่ที่หนึ่งทดแทน

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

Polder BJ, Van’t Hof MA, Van der Linden FP, Kuijpers-Jagtman AM. A meta-analysis of the prevalence of dental agenesis of permanent teeth. Community Dent Oral Epidemiol. 2004;32:217-26.

AlShahrani I, Ra T, Alqarni M. A Review of Hypodontia: Classification, Prevalence, Etiology, Associated Anomalies, Clinical Implications and Treatment Options. World Journal of Dentistry. 2013;4:117-25.

Larmour CJ, Mossey PA, Thind BS, Forgie AH, Stirrups DR. Hypodontia--a retrospective review of prevalence and etiology. Part I. Quintessence Int. 2005;36:263-70.

Kambalimath HV, Jain S, Patil RU, Asokan A, Kambalimath D. Permanent Maxillary Canine Agenesis: A Rare Case Report. Int J Clin Pediatr Dent. 2015;8:242-6.

Garcia R. Missing maxillary canine: from diagnosis to treatment. J Dentofacial Anom Orthod. 2010;13:55-74.

Zachrisson B. First premolars substituting for maxillary canines--esthetic, periodontal and functional considerations. World J Orthod. 2004;5:358-64.

Simms RA. Management of orthodontic treatment when first premolars are substituted for canines. Angle Orthod. 1977;47:239-48.

Becker A, Chaushu G, Chaushu S. Analysis of failure in the treatment of impacted maxillary canines. Am J Orthod Dentofacial Orthop. 2010;137:743-54.

Seager L, Shah J, Burke T, Khambay B. A study of smile aesthetic perception among dental professionals, patients and parents towards impacted maxillary canine treatment options. J Orthod. 2021;48:250-9.

Masoud AI, Bindagji FH. Orthodontic treatment of a case with a congenitally missing maxillary canine and a malformed contralateral canine. Australasian Orthodontic Journal. 2021;37:121-7.

Sumiyoshi K, Ishihara Y, Komori H, Yamashiro T, Kamioka H. Orthodontic Treatment of a Patient with Bilateral Congenitally Missing Maxillary Canines: The Effects of First Premolar Substitution on the Functional Outcome. Acta medica Okayama. 2016;70:57-62.

Johnston CD, Littlewood SJ. Retention in orthodontics. Br Dent J. 2015;218:119-22.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-11-22

วิธีการอ้างอิง

เมธีวรกุล สุหัชชา. 2022. “การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีการหายของฟันเขี้ยวบนทั้งสองข้าง”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (1). Nakhonsawan Thailand:37-43. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12626.

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วย (Case Report)