ปัจจัยเสี่ยงและอัตราการเกิดแผลติดเชื้อหลังจากเย็บปิดแผลผ่าตัดทันทีของการผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อน ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พรหมพิรุณ วัฒนวิกกิจ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การติดเชื้อแผลผ่าตัด, โรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อน, โรคไส้ติ่งแตก, การเย็บปิดแผลผ่าตัดทันที, การเย็บผิดแผลภายหลัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการเกิดแผลติดเชื้อและปัจจัยที่ส่งต่อการติดเชื้อแผลผ่าตัด หลังจากเย็บปิดแผลผ่าตัดทีนทีสำหรับการผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยได้รับ การผ่าตัดไส้ติ่งในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา


วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบที่ได้รับการรักษาในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์สองท่านในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 ถึงมิถุนายน พ.ศ.2562 โดยทบทวนจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มี โรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อนจำนวน 176 คน เก็บข้อมูล เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย อุณหภูมิ จำนวนเม็ดเลือดขาว โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ประวัติการสูบบุหรี่ ASA classification ชนิดแผลผ่าตัด ลักษณะความซับซ้อนของโรคไส้ติ่งอักเสบ วิธีการเย็บปิดบาดแผลหลังผ่าตัด การรับเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ผลชิ้นเนื้อ และการติดเชื้อแผลผ่าตัด ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อแผลผ่าตัด โดยใช้ Chi-square test และ Fisher’s exact test


ผลการศึกษา : โรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อนทั้งหมด 176 คน ประกอบด้วยภาวะไส้ติ่งแตก 67 คน ไส้ติ่งเน่าเปื่อย 96 คน และไส้ติ่งที่เป็นโพรงฝีหนอง 13 คน กลุ่มผู้ป่วยที่ศึกษาเป็นเพศชายร้อยละ 60 อายุเฉลี่ย 43.9+ 18.7 ปี โดยมีผู้ป่วยดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 ร้อยละ 36.4 ชนิดแผลผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดเป็นแผลผ่าตัดบริเวณท้องน้อยด้านขวาร้อยละ 84.1 และมีผู้ป่วยที่ได้รับการเย็บปิดผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดทันที ร้อยละ 83. 5 ระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยรวมเฉลี่ย 4.7 วัน มีอัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดโดยรวมร้อยละ 6.5 อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดของผู้ป่วยที่มีภาวะไส้ติ่งแตกร้อยละ 6.4 และพบว่า การเย็บปิดบาดแผลทันทีมีอัตราการเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดร้อยละ 4.0 ต่ำกว่าการเย็บปิดบาดแผลในภายหลังร้อยละ 17.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.04)


สรุป : การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดหลังจากเย็บปิดแผลผ่าตัดทันทีในโรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อน (Complicated appendicitis) มีอัตราการเกิดร้อยละ 6.5 และพบว่าการเย็บปิดแผลผ่าตัดทันที (Primary wound closure) เป็นปัจจัยที่อาจจะช่วยลดการติดเชื้อแผลผ่าตัดได้


คำสำคัญ : การติดเชื้อแผลผ่าตัด, โรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อน, โรคไส้ติ่งแตก, การเย็บปิดแผลผ่าตัดทันที, การเย็บผิดแผลภายหลัง

เอกสารอ้างอิง

Güler Y, Karabulut Z, Calis H, Sengul S. Comparison of laparoscopic and open appendectomy on wound infection and healing in complicated appendicitis. Int Wound J. 2020;17(4):957–65.

Siribumrungwong B, Noorit P, Wilasrusmee C, Thakkinstian A. A systematic review and meta -analysis of randomized controlled trials of delayed primary wound closure in contaminated abdominal wounds. World J Emerg Surg. 2014;9(1):49.

Giesen LJX, Loes A, Rossem CC, Hoed PT, Wijnhoven BPL. Retrospective multicenter study on risk factors for surgical site infections after appendectomy for acute appendicitis. Dig Surg 2017;34(2):103–7.

Noorit P, Siribumrungwong B, Thakkinstian A. Clinical prediction score for superficial surgical site infection after appendectomy in adults with complicated appendicitis. World Journal of Emergency Surgery. 2018;13:23.

Chiang RA, Chen SL, Tsai YC, Bair MJ. Comparison of primary wound closure versus open wound management in perforated appendicitis. J Formos Med Assoc. 2006;105(10):791-5.

Al-Sa’adi MHJ, Zamil AL. Evaluation of partial wound closure in perforated appendicitis. Int Surg J. 2019; 6(8):2726-30.

Lee JH, Park YS, Choi JS. The epidemiology of appendicitis and appendectomy in South korea: national registry data. J Epidemiol 2010;20(2):97-105.

Suemanothom P. Appendectomy: outcomes at suratthani hospital. Thai J Surg. 2016;37(2):43-51.

Saverio SD, Podda M, Simone BD, Ceresoli M, Augustin G, Gori A, et al. Diagnosis and treatment of acute appendicitis: 2020 update of the WSES Jerusalem guidelines. World Journal of Emergency Surgery. 2020;15(1):27.

Siribumrungwong B, Chantip A, Noorit P, Wilasrusmee C, Ungpinitpong W, Chotiya P, et al. Comparison of superficial surgical site infection between delayed primary versus primary wound closure in complicated appendicitis : a randomized controlled trial. Ann Surg. 2018;267(4):631-7.

Bahar MM, Jangjoo A, Amouzeshi A, Kavianifar K. Wound infection incidence in patients with simple and gangrenous or perforated appendicitis. Arch Iran Med. 2010;13(1):13-6.

Henry MCW, Moss RL. Primary versus delayed wound closure in complicated appendicitis : an international systematic review and meta-analysis. Pediatr Surg Int. 2005;21(8):625–30.

Ahmad M, Ali K, Latif H, Naz S, Said K. Comparison of primary wound closure with delayed primary closure in perforated appendicitis. J Ayub Med Coll Abbottabad. 2014;26(2):153-7.

Fuad M, Modher A. Primary closure or delayed primary closure? assessment of optimum management of surgical wounds for perforated appendicitis. Open Access Maced J Med Sci. 2022;20(10):281-5.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-25

วิธีการอ้างอิง

วัฒนวิกกิจ พรหมพิรุณ. 2023. “ปัจจัยเสี่ยงและอัตราการเกิดแผลติดเชื้อหลังจากเย็บปิดแผลผ่าตัดทันทีของการผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบแบบซับซ้อน ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (4). Nakhonsawan Thailand:218-25. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12644.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)