ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ อริยสิทธิ์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
วิธีศึกษา : ศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross--sectional Descriptive study) ในศูนย์สุขภาพชุมชน 5 แห่งของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย ประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ 30–70 ปี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) จำนวนแห่งละ 83 คน จากศูนย์สุขภาพชุมชน 5 แห่ง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างต่อด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายน พ.ศ.2565 โดยใช้แบบสอบถามของกองสุขศึกษา ได้ข้อมูลครบถ้วนจำนวน 395 คน ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : ข้อมูลการศึกษาทั้งหมด 395 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 62.3 มีระดับพฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 69.9 และพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับแปรผันตามความรอบรู้ด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01)
วิจารณ์และสรุป : ประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมและพฤติกรรมดูแลสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดและการตัดสินใจที่ดีของผู้ป่วย
คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานสุขศึกษา เพื่อลดอัตราการนอนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ในโรคความดันโลหิตสูง. [อินเทอร์เน็ต]. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://hed.go.th/linkHed/443

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2554.

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nsn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2021&source=pformated/format1.php&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในตำบลจัดการสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2558.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สำหรับสถานบริการสุขภาพในพื้นที่ต้นแบบ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/index/435

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ีกระบวนงานบริการสุขศึกษาเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพภาครัฐ บูรณาการมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2560.

World Health Organization. WHO’s Global Healthy Work Approach. Geneva: WHO, 1998

เอกชัย ชัยยาทา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในจังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561 ; 28(1) : 182–96.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสื่อสารสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ใน: เอกสารการสอนชุดวิชา หน่วยที่9 สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561. 214

กรรณิการ์ การีสรรพ์ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความ ดันโลหิตสูงและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง.Rama Nurse Journal 2562; 25(3): 280-94.

จำนง นันทะกมลและคณะ. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2565; 3(3): 14–29.

Becker, M. H. The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs 1974; 2(4): 354-85.

กองการแพทย์ทางเลือก. องค์ความรู้ความดันโลหิตสูง. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaicam.go.th/wp- content/uploads/2019 /06/%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99.pdf

ปวิตรา ทองมา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2563 ; 13(1): 50–62.

Mcnaughton CD, Jacobson TA, Kripalani S. Low literacy is associated with uncontrolledblood pressure in primary care patients with hypertension and heart disease. PatientEduc Couns 2014; 96(2): 165–70.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-05-30

วิธีการอ้างอิง

อริยสิทธิ์ จิราภรณ์. 2023. “ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (3). Nakhonsawan Thailand:117-23. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13180.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)