ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ

ผู้แต่ง

  • นวลจันทร์ ดิเรกวุฒิกุล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • ศุภนัน ทองทวีโภคิน วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • บุศรา ปู่ดี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • นรุตม์ วงศ์สาคร โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ, การรับรู้การหยุดสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด, ระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคติน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ

วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบ One groups pre-posttest design โปรแกรมใช้ระยะเวลาก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และหลังผ่าตัดติดตามผล 6 เดือน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ และแบบสอบถามด้านการรับรู้โรคจากการสูบบุหรี่ ระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคติน และด้านพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ก่อนการผ่าตัด และการเลิกบุหรี่ คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดย ใช้สูตร ของ Cohen ด้วยโปรแกรม G*power อำนาจการทดสอบ (Power of test) เท่ากับ .98 ขนาดอิทธิพลของตัวแปร (Effect size) 0.87 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงช่วงเวลา ตุลาคม 2564 ถึง มีนาคม 2566 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วย Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการศึกษา: การรับรู้โรคจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของการสูบบุหรี่ต่อการเกิดโรค การรับรู้ความเสี่ยงความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะและหลังผ่าตัดจากการสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญ p-value<0.01 แต่ พบว่าความคาดหวังผลลัพธ์จากการเลิกสูบบุหรี่ ระดับคะแนนการรับรู้เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ p-value= 0.601 ส่วนด้านพฤติกรรมพบว่า ระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคตินต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.01 และ กลุ่มตัวอย่างเลิกบุหรี่ก่อนผ่าตัด จำนวน 27 คน (ร้อยละ 90) หยุดสูบบุหรี่มากกว่า 2 สัปดาห์ 16 คน (ร้อยละ 53.3) และการเลิกสูบบุหรี่ต่อเนื่อง ระยะ 1 เดือน 24 คน (ร้อยละ 80) ระยะ 3 เดือน 23 คน (ร้อยละ 76.7) และระยะ 6 เดือน 25 คน (ร้อยละ 83.3)

สรุป: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ ผู้รับการผ่าตัดมีพฤติกรรมสูบบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัด ลดระดับความรุนแรงของการติด สารนิโคตินได้ และพบว่ามีการเลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องหลังการผ่าตัด แต่ยังคงต้องติดตามคือข้อมูลและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการลดภาวะแทรกซ้อนภาระค่าใช้จ่ายทั้งผู้ป่วยครอบครัวและผู้ให้ระบบบริการทางสุขภาพ

คำสำคัญ: โปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ, การรับรู้การหยุดสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัด, ระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคติน

เอกสารอ้างอิง

Carrick MA, Robson JM, Thomas C. Smoking and anesthesia. BJA Educ. 2019; 19 (1): 1-6. [cited on 22 May 2021]. Available from:https://so03.tci- thaijo.org/index.php/human/article/download/176020/ 159271/786501

บุษกร รักสวย. ผลกระทบของบุหรี่เมื่อเข้ารับการระงับความรู้สึก. วิสัญญีวิทยาน่ารู้. ศูนย์แพทย์ศึกษาชั้นคลินิก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

World Health Organization Tobacco; 2020. [cited on 31 May 2021]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tobacco

Adinat U, & Sukrit K. Smoking and risk of negative outcomes among covid 19 patient: A systematic review and meta-analysis; 2021. [cited on 31 May 2021]. Available from: doi: 10.18332/tid/132411; DOI-PMC

ประกิต วาทีสาธกกิจ. ข้อมูลบุหรี่กับสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ฑีรกานต์กราฟฟิค; 2560.

Bundhamcharoen K, Aungkulanon S, Makka N, Shibuya K. Economic burden from smokingrelated diseases in Thailand. Tob Control. 2016 Sep; 25(5) : 532-37.

Yousefzadeh A, Chung F, Wong DT. Smoking cessation: The role of the anesthesiologist. Anesth Analg. 2016; 122 (5):1311-20.

Wong J, An D, Urman RD. Society for Perioperative Assessment and Quality Improvement (SPAQI) consensus statement on perioperative smoking cessation. Anesth Analg. 2020; 131(3): 955-68.

Ferlay J, Bray F, Soerjomataram I, Siegel R L, Torre L A, Jemal A. Estimating the global cancer incidence and mortality in 2018: GLOBOCAN sources and methods. Int. J. Cancer. 2019; 144, 1941–53

Lin H, Chen M, Yun Q, Zhang L, Chang C. Protection motivation theory and smoking quitting intention: findings based on structural equation modelling and mediation analysis. BMC Public Health. 2022; 22:838 https://doi.org/10.1186/s12889-022-13263-0

Rogers C. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change : A revised theory of protection motivation. In Cacioppo & R. Petty (Eds.), Social psychophysiology. New York: Guilford Press. (1983).

Faul F, Erdfelder E, Lang A.G, & Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39: 175-91.

ธนะวัฒน์ รวมสุก สุรินธร กลัมพากร และทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลปี 2561; 67(1): 1-10.

Anderson G.Tobacco Cessation: A Quality Improvement Project Using the 5 A’s. Model. [degree of Doctor of Nursing Practice] Kansas City: University of Kansas School of Nursing; 2017. [cited on 31 May 2021]. Available from: https://kuscholarworks.ku.edu/bitstream/handle/1808/26920/Anderson_ku_0099D_ 15639_DATA_1.pdf?sequence=1&isAllowed=y

คอลิด ครุนันท์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บูรณาการสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมและสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Fagerstrom K. Derminants of tobacco use and renaming the FTND to the Fagerstrom test for Cigarette Dependence. Nicotine Tob Res. 2012; 14(1): 75-78.Doi:10. 1093/ntr137

นวลจันทร์ ดิเรกวุฒิกุล. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในการเตรียมผู้สูบบุหรี่ให้พร้อมก่อนผ่าตัด. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2555; 9(2): 62-70.

Chalermburanawong J, Preechawong S. Effect of the motivation program to quit smoking in Royal Thai Air Force officers with non-communicable disease risks. Journal of Health Research 2019; 33(5). 416 – 424.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, สุปราณี อัทธเสรี. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อช่วยเลิกบุหรี่สำหรับวิสัญญีพยาบาล. เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศ ไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2565.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-11-07

วิธีการอ้างอิง

ดิเรกวุฒิกุล นวลจันทร์, ทองทวีโภคิน ศุภนัน, ปู่ดี บุศรา, และ วงศ์สาคร นรุตม์. 2023. “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยเนื้องอกศีรษะและคอ”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (4). Nakhonsawan Thailand:243-54. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13361.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)