การศึกษาประสิทธิผลการระงับปวดหลังการผ่าตัดของการฉีดยาชารอบเนื้อเยื่อ ข้อเข่าการฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีมอรอล และการฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม

ผู้แต่ง

  • อันทิกา มั่นต่าย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • จิราภรณ์ พุกซื่อตรง โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • บุศรา ปู่ดี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

การฉีดยารอบเนื้อเยื้อข้อเข่า, การฉีดยารอบเส้นประสาทฟีโมรอล, การฉีดยาชาที่ช่องแอดดัคเตอร์, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ยาชาเฉพาะที่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลการฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่า การฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอล และการฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์ต่อการระงับปวดหลังการผ่าตัด ปริมาณยาลดปวดที่ใช้ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม


วิธีการศึกษาวิจัย : เป็นการศึกษาแบบการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาร่วมกับมอร์ฟีน 0.2 มก. เข้าช่องน้ำไขสันหลัง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่าด้วยยาชา 0.5% ลีโวบิวพิวาเคน 20 มล.คีโตโรคแลค 30 มก.อะดรีนาลีน 1 มก. และ 0.9% นอร์มอลซาไลน์ 28 มล. รวมปริมาณ 50 มล.กลุ่มที่ 2 ฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอลด้วยยาชา 0.5% ลีโวบิวพิวาเคน 20 มล. และกลุ่มที่ 3 ฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์ด้วยยาชา 0.5% ลีโวบิวพิวาเคน 20 มล.บันทึกข้อมูลทั่วไป ระดับความปวดหลังผ่าตัด ปริมาณยาทรามาดอล ที่ได้รับภายใน 24 ชม. ระยะเวลาเริ่มทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด ระยะเวลาการนอน โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Chi-square test เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างวิธีการระงับปวดหลังผ่าตัด3 วิธี ด้วยสถิติ One–way ANOVA, Post Hoc Test (Bonferroni) แสดงผลในรูปแบบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ p-value น้อยกว่า 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ


ผลการศึกษาวิจัย : ผู้ป่วยจำนวน 115 คน แบ่งเป็น กลุ่มฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่า 38 คน กลุ่มฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอล 39 คน กลุ่มฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์ 38 คน ทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในลักษณะข้อมูลทั่วไป โดยพบว่าที่เวลา 72 ชม. หลังการผ่าตัดคะแนนความปวดเฉลี่ยในผู้ป่วยกลุ่มฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่ามีค่าต่ำสุดคือ 3.21 กลุ่มฉีดยาชารอบเส้นประสาท ฟีโมรอลมีค่าเฉลี่ยความปวด คือ 3.72 และกลุ่มฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์มีค่าเฉลี่ยความปวดมากที่สุด คือ 3.82 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value=0.002 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าในกลุ่มฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอลและกลุ่มฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์ (p-value=0.015, p-value=0.003) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอลกับกลุ่มฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value=1.000) ในด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษา พบมากที่สุดในกลุ่มฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอล รองลงมาเป็นกลุ่มฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์และกลุ่มฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่ามีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (90,894.10, 90,038.29, 87,856.95, p-value=0.000) นอกจากนี้ทั้ง 3 กลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเรื่องปริมาณทรามาดอลที่ได้รับและระยะเวลาการนอน โรงพยาบาล


บทสรุป : การฉีดยารอบเนื้อเยื่อข้อเข่า สามารถลดระดับความปวดหลังผ่าตัดที่ 72 ชม. และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ดีกว่าการฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีโมรอล และการฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์


คำสำคัญ : การฉีดยารอบเนื้อเยื้อข้อเข่า, การฉีดยารอบเส้นประสาทฟีโมรอล, การฉีดยาชาที่ช่องแอดดัคเตอร์, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ยาชาเฉพาะที่

เอกสารอ้างอิง

Seo SS, Kim OG, Seo JH, Kim DH, Kim YG, Park BY. Comparison of the Effect of Continuous Femoral Nerve Block and Adductor Canal Block after Primary Total Knee Arthroplasty. Clinics in Orthopedic surgery.2017;9:303-9.

Strassels SA, Chen C, Carr DB. Postoperative analgesia : economics, resource, and patient satisfaction in an urban teaching hospital. AnesthAnalg. 2002;94 (1):130-7.

Paul JE, Arya A, Hurlburt L, et al. Femoral nerve block improves analgesia outcomes after total knee arthroplasty : a meta-analysis of randomized controlled trials. Anesthesiology.2010;113(5):1144-62.

Choy WS, Lee SK, Kim KJ, Kam BS, Yang DS. Two continuous femoral nerve block strategies after TKA. Knee Surg Sports TraumatolArthrosc.2011;19 (11):1901-8.

Charous MT, Madison SJ,Suresh PJ, Et al. Continuous femoral nerve block : varing local anesthetic delivery method (bolus versus basal) to minimize quadriceps motor block while maintaining sensory block. Anesthesiology.2011;115(4):774-81.

Grevstad U, Mathieson O, Vaientiner LS, Jaeger P, Hilsted KL, Dahl JB. Effect of adductor canal block versus femoral nerve block on quadriceps strength, mobilization, and pain after total knee arthroplasty. Reg Anesth Pain Med.2015;40(1):3-10.

Essving PL, Axelsson K, Aberg E, et al. Local infiltration analgesia versus intrathecal morphine for postoperative pain management after total knee arthroplasty: a randomized controlled trial. AnesthAnalg. 2011;113(4):926-33.

McCartney MJL, McLeod GA. Local infiltration analgesia for total knee arthroplasty. Br J Anaesth. 2011;107(4):487-9.

Xu J, Qian-qian W, Cheng-Ai W, Wei T. Analgesic efficacy of Adductor Canal Block in Total Knee Arthroplasty : A Meta-analysis and Systematic Review. Orthopedic Surgery.2016;8:294-300.

หัชพร เขียวบ้านยาง, สตบงกช ทั่งทอง, วิทยา ประทินทอง. ประสิทธิผลการระงับปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเปรียบเทียบระหว่างการฉีดยาในข้อเข่าและเนื้อเยื่อกับการฉีดยาชาที่เส้นประสาท Femoral หลัง การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการฉีดยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลัง.วิสัญญีสาร.2561;44(3) : 107-13.

สตบงกช ทั่งทอง , วิทยา ประทินทอง, นงลักษณ์ มะพงษ์เพ็ง, ศิริลักษณ์ แท่งทอง. ประสิทธิภาพการฉีดยาในข้อเข่าและเนื้อเยื่อบริเวณผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.วิสัญญีสาร.2561;42(1) : 11-20.

Kampitak W, Tanavalee A, Ngarmukos S, Amarase C, Songthamwat B, Boonshua A. Comparison of Adductor Canal Block Versus Local Infiltration Analgesia on Postoperative Pain and Functional Outcome after Total Knee Arthroplasty : A Randomized Controlled Trial. Malaysian Orthopedic Journal.2018;12(1) : 7-14.

Natesan R, Manickam K, Dhanasekaran S, Palanisami D,Shanmuganathan. Comparison of Efficacy of Adductor Canal Block, Local Infiltration Analgesia and Both Combined in Postoperative Pain Management After Total Knee Arthroplasty: A Randomized Controlled Trial. Indian Journal of Orthopedics. 2021;55 : 1111–1117.

Tripuraneni KR, Woolson ST, Giori NJ. Local infiltration analgesia in TKA patients reduces length of stay and postoperative pain scores. Orthopedics.2011;34(3) : 173.

Wei Zuo, Wanshou Guo, Jinhui Ma, Wei Cui. Dose adductor canal block combined with local infiltration analgesia has a synergistic effect than adductor canal block alone in total knee arthroplasty : a meta-analysis and systematic review. l. Journal of Orthopedic Surgery and Research. 2019;14(101) : 1-8

Bauer M, Wang L, Onibonoje OK, et al. Continuous femoral nerve block : decreasing local anesthetic concentration to minimize quadriceps femoris weakness. Anesthesiology.2012;116:665-72.

Elfatih A, Hasaboa B, Ahmed A, Maysa M, Hamid A, EzzEl D, et al. Adductor canal block versus femoral nerve block for pain control after total knee arthroplasty : A systematic review and Meta-analysis. Medicine.2022.101(34):1-11.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-07

วิธีการอ้างอิง

Mantay, Aunthika, Chirarphron Puksuetrong, และ Busara Pudee. 2023. “การศึกษาประสิทธิผลการระงับปวดหลังการผ่าตัดของการฉีดยาชารอบเนื้อเยื่อ ข้อเข่าการฉีดยาชารอบเส้นประสาทฟีมอรอล และการฉีดยาชารอบช่องแอดดัคเตอร์สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (4). Nakhonsawan Thailand:194-201. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13582.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)